« เมื่อ: มกราคม 31, 2016, 07:13:26 am »
(ถอดความจากคลิป)
ธรรมะจากพระพุทธเจ้า วันที่ 31 มกราคม 2559
ตอนที่ 174 **น้ำชาถ้วยหนึ่ง**
+ +
เมื่อพระยาธรรมิกราชได้เข้าเฝ้านอบน้อมต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตาแสดงธรรมกลับมา ดังนี้ว่า...
- - - -
พระยาธรรมเอ๋ย.. คนเรานี้ ก็ต่างจิตต่างใจ ต่างเวรต่างกรรม ต่างการกระทำ ต่างความคิด ต่างความชอบ ที่แตกต่างกันไป ที่ไม่เหมือนกัน
พระยาธรรมเอ๋ย.. น้ำชาร้อนๆ หนึ่งแก้ว
- คนไหนที่ชอบกินก็ว่าอร่อยดี กินแล้วสดชื่นในจิตใจ ร่างกายก็อบอุ่น
- คนไหน ที่ไม่ชอบกิน ก็จะไม่กินเลย กินเข้าไปก็ฝืนเต็มที กินแล้ว รู้สึกไม่สบายตัว กินไปอย่างนั้นแหละ
... จึงบอกว่าน้ำชาไม่ดี ไม่อร่อย ไม่น่ากิน
คนที่ชอบ - ก็บอกน่ากิน อยากกิน
คนที่ไม่ชอบ - ก็บอกว่าไม่น่ากิน ไม่อยากกิน.. เป็นเช่นนั้นไป
น้ำเย็นหนึ่งแก้ว…
บุคคลผู้ที่ชอบกินน้ำเย็น พอกินเข้าไปแล้ว ก็บอกว่าเย็นชื่นใจจริงๆ.. ทั้งที่ก็เป็นน้ำเปล่าเฉยๆนี่แหละ
แต่คนที่ไม่ชอบน้ำเย็น กินเข้าไปแล้ว ก็บอกว่าเย็นเหลือเกิน กินแล้วไม่สบายตัว ต้องกินน้ำอุ่นๆ ถึงจะทำให้ร่างกายอบอุ่น และสบายตัว
ความชอบนั้นก็แตกต่างกัน ทั้งที่ก็เป็นแค่น้ำเย็น -กับน้ำอุ่น.. ก็เป็นแค่น้ำเหมือนกันนี่แหละ
ลูกเอ๋ย.. ชีวิตของเรานั้น ก็เป็นเช่นนั้นแหละลูก...
/ เราชอบแบบไหน - เราก็ว่าแบบนั้นดี
/ เขาชอบแบบไหน - เขาก็ว่าแบบนั้นแหละดี
-- ต่างคนก็เลยต่างทำเหมือนที่ตนชอบ สรุปแล้วก็เลยไม่เหมือนกัน --
.. พอไม่เหมือนกัน ก็เลยถกเถียงกัน
คนหนึ่ง ก็บอกว่า "ของฉันถูก"
อีกคนหนึ่ง ก็บอกว่า "ของฉันก็ถูก"
... ก็เลยกลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่า ตกลงใครถูกกันแน่
ลูกเอ๋ย.. คนเรานั้นมีสิ่งที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่ร่างกาย
- ร่างกายบางคน ต้องรับน้ำอุ่น
- ร่างกายบางคน รับน้ำเย็นจึงจะรู้สึกสบายในตัว
... เรานั้นไม่เหมือนกัน…
เปรียบเสมือนธรรมะ คำสั่งสอน แนวการปฏิบัติ ก็เหมือนกัน.. ลูกเอ๋ย
บางคน ก็ชอบในรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง
บางคน ก็ชอบไปอีกแบบหนึ่ง
... ก็เลยเกิดการถกเถียงว่า สายธรรมนั้นไม่ดีหรอก // สายธรรมนี้แหละดี
บางคนก็ถกเถียงว่า หลวงปู่องค์นั้นสอนไม่ถูกหรอก.. องค์นี้แหละดี สอนถูก
เพราะว่ามันตรงกับนิสัยของตนเอง ตรงกับ*เชื้อกิเลส* ที่ตนมีอยู่
ฟังแล้วก็รู้สึกว่า รื่นหู ช่วยให้ตนสบายใจ // ช่วยให้ตนขัดเกลากิเลส ได้ขึ้นมาบ้าง
แต่ไม่ใช่เพราะว่า หลวงปู่องค์นั้นดี องค์นี้ไม่ดี
ถ้าเทียบกันแล้ว มันก็ "น้ำเหมือนกัน" นั่นแหละ
เพียงแต่มันจะอุ่น หรือร้อนเท่านั้นเอง
แต่เรานี่แหละลูก มัวแต่ไปแบ่งแยกว่า "สายนั้นดี.. สายนี้ไม่ดี".. อยู่อย่างนั้นเอง
ลูกเอ๋ย.. การปฏิบัติ บำเพ็ญตนจนเข้าถึงพระนิพพานนั้น ก็เหมือนกัน
มีเส้นทางการเดินมา.. ที่แตกต่างกัน
บางดวงจิต เขา
- ต้องบำเพ็ญมาอย่างหนัก
- ต้องเดินธุดงค์เป็นสิบๆปี..
- ต้องนั่งกรรมฐาน ไม่ไปไหน เป็นเวลานานแสนนาน
... จึงจะสามารถดับเชื้อไปสู่นิพพานได้
บางดวงจิตก็อยู่กับผู้คนนี่แหละ คลุกอยู่กับเชื้อนี่แหละ แต่บำเพ็ญในตน อยู่สม่ำเสมอ
เรียนรู้อยู่กับเชื้อนั้นอยู่ตลอดเวลา.. จนจิตของตนก็สำเร็จได้ ทั้งที่อยู่กับคนนี่แหละ
** สายทางการเดินทาง ก็ไม่เหมือนกัน เป็นธรรมดา **
เพราะเชื้อของเราที่มาต่างกัน บุญและบาปที่สร้างไว้ก็ไม่เหมือนกัน
...เราก็เลยต้องเดินตามทางที่เราเคยได้สร้าง /ได้ทำมา ทั้งดี และไม่ดีนั้น …จึงไม่เหมือนกัน
ฉะนั้น ลูกเอ๋ย.. บุคคลผู้ใดก็ตาม ที่ปรารถนาจะบำเพ็ญจนถึงความพ้นทุกข์
อย่ามัวแต่ไปเพ่งโทษผู้อื่นเลยลูก ว่าสายนั้นดี สายนี้ไม่ดี สายนี้ดี สายโน้นไม่ดี
อย่าทำแบบนั้นเลยลูก..
... เพราะทุกคนเขามีเหตุของเขา มีสิ่งเขานั้นต้องทำ ต้องเป็นไปตามกรรมของเขา…
# เราอย่าไปเพ่งใคร
# อย่าไปเปรียบเทียบใคร
... ถ้าเกิดว่าเรายังทำอย่างนั้นอยู่ -- มันก็ติดที่จิตเรานี่แหละ
เหมือนคน 2 คน ที่เถียงกันว่า น้ำชาอร่อย กับไม่อร่อย.. เถียงกันอยู่อย่างนั้น
ปมปัญหา มันอยู่ตรงไหนลูก- มันไม่ได้อยู่ที่น้ำชา
แต่มันอยู่ที่ 2 คน ที่เถียงกันน่ะลูก
... ถ้าหยุดเถียงล่ะลูก ปัญหานั้นก็หมดไป …
เหมือนกันกับการถกเถียงกันว่า น้ำเย็นอร่อย / หรือว่าน้ำร้อนอร่อย
มัวแต่เถียงกันอยู่นั่นแหละลูก.. ทั้งที่ก็เป็นน้ำเหมือนกัน
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่น้ำเลย อยู่ที่บุคคลที่เถียงกันนั่นแหละลูก
-- ถ้ามันเลิกเถียงกันซะ แล้วปัญหามันจะมีได้ยังไง !
ลูกเอ๋ย.. ธรรมะ พระธรรมคำสั่งสอน แนวการปฏิบัตินั้น ก็เหมือนกัน..
คนไหนที่คอยแต่ไปเพ่งคนนั้นว่าเป็นอย่างนั้น คนนี้ว่าเป็นอย่างนี้
นั่นแหลลูก.. ปัญหาอยู่ที่ตัวของบุคคลผู้นั้นนั่นแหละ !
++ ไม่ได้อยู่ที่สายธรรมนั้น ไม่ได้อยู่ที่หลวงปู่องค์โน้น องค์นั้น หรืออยู่ที่พระธรรมคำสอน อยู่พระพุทธศาสนา
...ไม่ได้อยู่ในที่เหล่านั้นเลย ++
> อยู่ที่ตัวบุคคลผู้นั้นแหละลูก ที่ปรับจิตของตนไม่ดี เลย…
ยังมีทิฏฐิ มีความเห็นที่เป็นของเรา ของเขา
ยังเกิดทิฏฐิถกเถียงกัน
ยังไม่ยอมเข้าใจ และปล่อยวางตามธรรมชาติว่า
- สรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่มีทางเหมือนกัน
- ทุกคน เราสร้างกรรมมาแตกต่างกัน
- แต่ละสาย แต่ละเส้นที่เดินนั้น.. เขาต้องมีเหตุผลของเขา
จะทำยังไงก็ได้ ขอให้เป็นการ ทำความดี / เดินทางสายกลาง **
ทำความดีเพื่อดับการเกิด-- ก็ย่อมถูกต้องดีแล้ว
-- แต่ไม่ใช่ว่า ของฉันถูก ของเขาถูก --
บุคคลผู้นั้นแหละลูก ที่ไม่ยอมบำเพ็ญตนจนเข้าใจ เข้าถึง และปล่อยวางในสิ่งนี้
// จึงมัวแต่ยึดถือสิ่งที่ตนรู้ สิ่งที่มันตรงกับความชอบของตนเอง ว่าถูกต้องที่สุด
// จึงทำให้เกิดปัญหาถกเถียง
// จึงทำให้เกิดปัญหาในธรรมคำสอน
ลูกเอ๋ย.. ฉะนั้น เราควรดูว่าตัวของเรา ว่า
เราเดินทางมาในทางไหน
เราสร้างกรรมมาในรูปแบบใด
เรานี้มีเชื้อของความรัก โลภ โกรธ หลง มากน้อยเพียงใด
เรานั้นโลภมากอยู่หรือเปล่า ถ้าเกิดว่าเรายังโลภมากอยู่
-- เราต้องไปศึกษาวิธีของการดับความโลภ.. ว่าต้องทำยังไง
ถ้าเกิดว่าเรายังรักมากอยู่
-- เราก็ต้องไปศึกษาของวิธีดับความรักมากของเรานั้นให้ได้
ต้องศึกษาวิธีการดับเชื้อของความรัก ว่าดับยังไง -- แล้วประพฤติ ปฏิบัติตาม
ความโกรธ และความหลง ก็เหมือนกัน เราต้องดูว่า ตอนนี้เรามีเชื้อเหล่านี้มาก -- เราต้องดับเชื้อเหล่านี้ ด้วยวิธีใด ไม่ใช่ไปดูว่า คนนั้นดี คนนั้นไม่ดี
ลูกเอ๋ย.. การเดินทางของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันอยู่แล้ว เราไปดูของคนนั้น คนนี้เขา...
/ เลยทำให้เราสับสน
/ เลยไม่รู้ว่าของตัวเองต้องเดินยังไง
/ เลยไม่รู้จักเดิน และเป๋อยู่อย่างนั้น
/ เลยไปไม่ถึงสักที !
หลวงปู่ 2 องค์ องค์ที่ 1 กับองค์ที่ 2 - ท่านก็เป็นพระอรหันต์แล้วเหมือนกัน
เพียงแต่การปฏิบัติ..มาคนละแนว องค์ละแนว
องค์หนึ่งนั้น ท่านเดินมาแบบนิ่มนวล พูดจาก็นิ่มนวล ปฏิบัติก็นิ่มนวล-- แต่ก็ **ถึงนิพพาน**
- ตามจริต ตามเชื้อของกิเลสที่ท่านมีมา ตามวาระกรรมที่ท่านสร้างมา
...จนท่านก็เข้าถึงพระนิพพาน
อีกองค์หนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่พูดแข็ง ปฏิบัติแบบแข็งแกร่ง เหนื่อยหนักในการฝึกฝน แต่ท่านก็ทำตามจริตของท่าน / เชื้อของกิเลสที่ท่านมีมา ทำตามวาระกรรมที่ทำเอาไว้ ต้องเดินในแบบนั้นจึงดับได้
... จนถึงความเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน
สรุปแล้ว.. หลวงปู่ทั้งสององค์ ก็อรหันต์เหมือนกัน แต่ลูกศิษย์ ลูกหลานและบริวารถกเถียงกันอยู่นั่นแหละ ว่าองค์นั้นดี องค์นี้ไม่ดี
ถกเถียงกันอยู่อย่างนั้น ทั้งที่หลวงปู่ท่าน ก็อรหันต์ทั้งคู่ -- อรหันต์ก็ยังไม่ดีอีก
เป็นยังไงล่ะลูก ตัวเรานี่แหละที่ไม่ดี !
ท่านดับการเกิดได้แล้ว ท่านไปไกลแล้ว.. แต่เราก็ยังถกเถียงกันอยู่อย่างนั้น
ท้ายที่สุดเลยได้แต่บาป /ได้แต่กรรม เลยไม่ไปไหนเลย
-- เพราะว่าเรา ไม่ทำที่ตัวของเรา --
ลูกเอ๋ย.. คนเรานั้น..
+ มีเชื้อของกิเลสที่หนักเบาในแต่ละอย่างในตัวตน..ที่ต่างกัน
+ มีกรรมที่สร้างดีและชั่ว.. มาต่างกัน
... ก็เลยต้องปฏิบัติในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ใช่คนหนึ่งถูก / คนหนึ่งผิด ไม่ใช่อย่างนั้น.. ลูกเอ๋ย
จงมองให้เห็นความเป็นธรรมดา แล้วเรานั้นจงปฏิบัติที่ตัวของเราให้ดีเสียก่อน
+ ถ้าเกิดว่าเรายังเพ่งตรงนั้น เทียบตรงนี้อยู่ -- แปลว่าเรายังไม่ดี ..เราต้องปฏิบัติให้ดี
+ ถ้าเกิดว่าเรายังมองไม่เห็นความเป็นธรรมดาของธรรมชาติเหล่านี้ แปลว่า "จิตของเรายังตกต่ำอยู่"
เราต้องประพฤติ ปฏิบัติ บำเพ็ญ ดึงจิตของเราให้สูงขึ้นให้ได้ // ให้เห็นความเป็นธรรมดาให้ได้
...เราจึงจะเป็นผู้รู้ อย่างแท้จริง
และผู้ที่รู้อย่างแท้จริง --เขาก็จะไม่ยุ่งเรื่องชาวบ้าน หรอกลูก
เขาก็จะเอาตัวเอาตนนี่แหละ ให้พ้นฝั่งให้ได้.. ลูกเอ๋ย
จงประพฤติ ปฏิบัติแต่เฉพาะตน เพราะเรื่องของตน ตนยังไม่รู้ -- จะรู้เรื่องของบุคคลผู้อื่นได้อย่างไรเล่า ?
ตนนั้น ยังต้องปฏิบัติอยู่.. แล้วทำไมถึงเอาเวลาไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่น อย่างนั้นเล่า
ลูกเอ๋ย.. โลกใบนี้ วัฏสงสารนี้ ก็เป็นเช่นนี้อย่างนี้เองลูก…
และธรรมะก็อยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง เพียงแต่ว่าเรา จะมองเห็นมันหรือเปล่า …
**ธรรมะ อยู่ในน้ำชาแก้วหนึ่ง ก็มี
**ธรรมะ อยู่ในน้ำเปล่าแค่แก้วเดียว ก็มี
น้ำแก้วเดียวเท่านั้นแหละลูก ขยายใจความธรรมะได้มากมาย ถ้าเราฝึกฝนจิตของตน ให้สว่างให้เข้าใจ รู้แจ้งแล้ว
แล้วเราก็จะเห็นธรรมอยู่ในความแตกต่าง
- ระหว่างเขากับเรา
- ระหว่างการเดินทางของบุคคลผู้อื่น กับการเดินทางของเรา
... เห็น *ธรรมะ* ที่เป็นธรรมดาของมัน เราจะไม่ถกเถียงกับใครอีกต่อไป …
ลูกเอ๋ย.. บุคคลผู้ที่เป็นพุทธศาสนาทุกๆคน เหตุที่ต้องถกเถียงกัน เพราะ "จิตตนยังไม่ดี"
ถ้าเกิดว่าเราจะทำให้ดี ต้องทำที่ตัวของเรา
อย่ามัวแต่ไปถกเถียงกับบุคคลผู้อื่นเลย และทำดูเหมือนว่า พระพุทธศาสนานั้นจะมีปัญหา
ทำเป็นเหมือนว่านักบวชเรานี่จะมีปัญหา
แต่ในความเป็นจริง ปัญหาไม่อยู่ในพระพุทธศาสนาเลย
ปัญหาไม่ได้อยู่ในแนวการปฏิบัติ / หรืออยู่ในนักบวชเลย
... แต่อยู่กับบุคคลผู้นั้นต่างหาก ที่มัวแต่เอาทิฏฐิ มัวแต่เอาความเป็นตัวเป็นตนนั้นมาโต้เถียงกัน
ไม่ยอมมองให้เป็นความเป็นจริง
เรื่องของเขา ลูกเอ๋ย..
ต่างคนต่างมาที่นี่ เพื่อทำหน้าที่ของตนเอง //
- เขาก็มาทำหน้าที่ของเขา ตามธุระของเขาที่เขาจะมา
- เราก็มาทำหน้าที่ของเราบนโลกนี้ - ตามธุระของเรา
ธุระของเรา กับธุระของเขาไม่เหมือนกัน
ไม่ใช่ของเขาไม่ดี หรือของเราไม่ดี ของใครดีกว่าใคร หรอกลูก
แต่ต่างก็มาทำธุระของตนเอง
เราต้องดูเรา ว่าเรามาทำอะไร และทำธุระของเราให้เสร็จ..ก่อนเวลาจะหมด
นั่นแหละลูก ...
จึงจะเป็นผู้ไม่โง่
จึงจะเป็นผู้ไม่หลง ไม่ยึดไม่ติด ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
จึงจะเป็นผู้รู้แจ้ง และสำเร็จธรรมได้.. ลูกเอ๋ย
สาธุ
/ + /
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 20, 2016, 02:32:29 am โดย thanapanyo »

บันทึกการเข้า