« เมื่อ: มกราคม 25, 2016, 07:28:37 am »
(ถอดความจากคลิป)
ธรรมะจากพระพุทธเจ้า วันที่ 25 มกราคม 2559
ตอนที่ 168 **ปล่อยวางให้ปล่อยแบบไหน**
+ +
เมื่อพระยาธรรมิกราชได้เข้าเฝ้านอบน้อมต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- - - -
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. ให้ ทำการที่เรานั้นฝึกจิตฝึกใจของเรา ให้รู้จักการปล่อยวาง ย่อมทำให้เราเบาสบาย ไม่แบก ไม่เหนื่อย ไม่ยึด ไม่ถือ สิ่งใดเอาไว้
แต่คำว่า *ปล่อยวาง* นั้น...
บางคนก็อาจจะเข้าใจว่า ปล่อยวางแบบไหน
บางคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่า ปล่อยวางแบบไหน
... ต่างก็คิดไปต่างๆนานา
บางคนก็บอกว่า "วางไม่ได้หรอก จะวางได้ยังไง ในเมื่อยังมีหน้าที่ ยังมีสิ่งที่ต้องทำ"
บางคนก็อาจจะคิดว่า ค่อยๆปล่อย ค่อยๆ วาง เดี๋ยวก็วางได้เอง
บางคนก็วางเลย ทิ้งภาระหน้าที่ ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ตึงเกินไป /หย่อนเกินไป
-- ไม่เข้าใจสภาวธรรมของการ *ปล่อยวาง* ที่แท้จริง.. ก็เลยทำให้ปล่อยวางไม่ถูก --
ทีนี้เมื่อปล่อยวางไม่ถูก ก็เลยปล่อยวางแบบเหนื่อยๆ ปล่อยแล้วจริง แต่ยังไม่วาง
ปล่อยวางแล้วจริงๆหรือเปล่า.. ความทุกข์ยังมีอยู่ในเราเสมอ
การปล่อยวาง -จึงไม่ก่อเกิดขึ้นในตัวของบุคคลผู้นั้น
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. การที่เราจะทำอะไรก็ตาม เรา…
/ จะปล่อยวางได้ หรือว่าปล่อยวางไม่ได้
/ จะเข้าใจกับการปล่อยวางหรือไม่นั้น
-- ขึ้นอยู่กับการประพฤติ ปฏิบัติ บำเพ็ญ จิตใจของเราจะเข้าถึงคำว่า "ปล่อยวาง" เอง --
ถ้าจิตใจของเรายังอยู่ในภูมิที่ไม่ค่อยได้ปฏิบัติ ไม่ได้ฝึกฝนตน จิตของตน --ก็ยังเหมือนคนที่มืดบอด
เคยแต่ได้ยินได้ฟังมา ก็เลยทำไม่ถูก.. ลูกเอ๋ย
แต่ถ้าเกิดว่าเรานี้ เราคอยหมั่นบำเพ็ญ ปฏิบัติ-- จิตใจของเรา ก็จะเข้าถึงคำว่า "ปล่อยวาง" ด้วยตัวของเราเอง
พระยาธรรมเอ๋ย.. บุคคลผู้ที่ประพฤติ ปฏิบัติ จะรู้ได้ เข้าใจได้ด้วยตนเอง ว่าการปล่อยวางนั้น เป็นเช่นไร
หากใครที่ยังไม่เคยปฏิบัติ / ไม่เคยประพฤติ ให้เข้าถึงการปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อเลื่อนระดับจิตของตน
พอมีคนบอกว่า ให้ปล่อยวาง.. ก็หงุดหงิดใส่เขาบ้าง โมโหใส่เขาบ้าง และก็ไม่รู้ว่าปล่อยยังไง
... เพราะว่าตนไม่เคยฝึกฝนมา
บางคนก็พูดแต่ปากอย่างเดียวว่า "ปล่อยวางๆ" .. แต่ก็ไม่รู้ว่าปล่อยวางนี่ ปล่อยแบบไหน ทำยังไง เพราะตนไม่เคยประพฤติ ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยฝึกฝนมา
ฉะนั้น ลูกเอ๋ย.. ธรรมะ ธรรมคำสั่งสอน ทุกๆถ้อยคำ ทุกๆคำสั่งสอนนั้น --
...ล้วนแล้วแต่มีสิ่งที่ละเอียดอ่อน ซ่อนเร้นอยู่ในคำเหล่านั้น
** เราต้องปฏิบัติ.. เราจึงจะเข้าใจ**
ธรรมะนั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้ใจในการฝึกฝน
ถ้าเกิดว่าเราไม่เคยตั้งใจ ไม่เคยใช้ใจของเรา ฝึกฝนเลย -- เราก็จะไม่รู้หรอกลูก ว่ามันเป็นยังไง
เพราะธรรมะ..จะฟังเฉยๆไม่ได้ / จะรู้เฉยๆก็ไม่ได้ -- ต้องฝึกที่ใจ
ใจนั้น..ต้องเรียนรู้ ต้องเปิดใจฟัง รับรู้ให้ถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในธรรมะ- คำนั้น
ลูกเอ๋ย.. เมื่อเราเข้าใจแล้ว-- เราก็จะเข้าถึงอย่างแท้จริง
บางคนเป็นชาวพุทธก็จริง แต่ก็ไม่รู้จักศาสนาพุทธอย่างแท้จริง เพราะตนไม่เคยปฏิบัติ
เหมือนคนที่รู้จักธรรมะ *ปล่อยวาง* -- แต่ก็ไม่เคยเข้าถึงคำนี้ เพราะตนไม่เคยนำไปปฏิบัติ.. จึงทำให้ยังแบก ยังยึดอยู่ ยังถืออยู่
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. ไม่ว่าจะเป็นธรรมข้อใด / การปฏิบัติในข้อใด ก็ควรประพฤติ ปฏิบัติแต่เพียงพอดี แต่ทางสายกลางเท่านั้น แล้วจะไปถึง
*การปล่อยวาง* นั้น หมายถึง …
/ ฝึกที่จิตของเรา ไม่ให้จิตของเราเป็นทุกข์
/ ฝึกที่จิตของเรา
.. ไม่ให้จิตของเราเขวตามสิ่งนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้าง
.. ไม่ให้จิตของเราไปแบกเอาไว้ ถือเอาไว้
** แต่ไม่ใช่ไม่ยุ่ง ไม่ข้อง ไม่เกี่ยว แบบนั้น
เราต้องประพฤติที่จิตของเรา..ให้เข้มแข็ง -- เปรียบเสมือนรักษาแก้วดวงหนึ่ง ที่แก้วดวงนั้นอยู่กับฝุ่น แต่ไม่ให้เปื้อนฝุ่น ไม่ให้เลอะฝุ่นให้ได้.. ทำเช่นนั้น อย่างนั้น จึงเป็น *การปล่อยวาง*
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. ชีวิตของคนเรานั้น ก็ล้วนแล้วแต่ "มีหน้าที่" กันทุกคน...
และการปล่อยวางไม่ใช่ว่า "ไม่ทำหน้าที่" หรอก.. ลูกเอ๋ย
เช่นดังองค์พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้สำเร็จแล้ว ฝึกจิตของตนจนเข้าถึงความปล่อยวางได้แล้ว ก็ยังต้องทำหน้าที่ของตน คือ การเผยแผ่ เผยแพร่ธรรมไป ช่วยเหลือดวงจิตต่างๆให้เห็นทาง บอกทาง ชี้ทาง ไม่ใช่ปล่อยทิ้งทุกอย่าง ไม่ทำอะไรเลยอย่างนั้น
แต่การบอกทาง / ชี้ทาง ก็ไม่ได้ทำให้เป็นสุข หรือเป็นทุกข์อะไร เพราะทำไปอย่างปล่อยวาง เพราะทำไปด้วยหน้าที่เฉยๆ
+ ไม่ได้ทำ เพราะใจยึดเอาไว้
+ ไม่ได้ทำ เพราะแบกเอาไว้
... จึงไม่เป็นทุกข์อะไร
*การปล่อยวาง* นั้น หากเราเข้าใจถึงมันอย่างแท้จริง ก็ทำให้เราเป็นสุขได้ / อยู่กับทุกอย่างได้ด้วยการปล่อยวาง
มีกายนี้อยู่ ก็สมมุติว่ามีอยู่-- แต่ไม่ได้ยึดติด ลุ่มหลง แบกมันเอาไว้
มีสิ่งของมากมายที่เกี่ยวข้องกับกายนี้.. เราก็รู้อยู่ว่า มี
แต่ถ้าเกิดว่ามันไม่ได้มีอยู่ เราก็ไม่ได้รู้สึกเป็นทุกข์ กับสิ่งที่มีหรือไม่มีนั้น.. เพราะว่าเราอยู่อย่างกลางๆ ไม่ได้แบกเอาสิ่งเหล่านั้นไว้กับตัวของเรา /ไว้กับจิตของเรา
การปล่อยวาง จึงทำให้เราอยู่กับทุกสิ่ง อยู่กับทุกอย่าง
มีสักแต่ว่ามี จึงทำให้เราไม่เป็นทุกข์.. ทำให้เรานั้นปล่อยวางได้อย่างแท้จริง
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. จงหมั่นฝึกฝนจิตของลูก ให้เข้าถึงการปล่อยวางเถิด
ทุกสิ่งทุกอย่างในการประพฤติ การปฏิบัติธรรมนั้น --ให้ดูที่จิตของเรา อย่าดูที่บุคคลผู้อื่น // อย่าดูที่สิ่งภายนอก -- ให้ดูสิ่งที่อยู่ในใจ ในตัวของเรานี่แหละลูก **
- เอาตนเป็นที่ตั้ง
- เอาจิตเป็นที่ตั้ง
- ปล่อยวางก็ให้ปล่อยวางในจิต
- ปฏิบัติก็ให้ปฏิบัติในจิต
- จะคิดดี พูดดี ทำดี ก็ให้คิด ให้ทำ ให้พูด ด้วยจิต
... ทำจากข้างใน สู่ภายนอก ปรับเปลี่ยนที่จิตของตนให้หลุดจากความทุกข์ทั้งปวงให้ได้
ลูกเอ๋ย.. ความทุกข์ภายนอกนั้นมีมากมาย ถ้าเกิดว่าเราจะเปลี่ยนภายนอกให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามใจเรา.. เป็นไปไม่ได้หรอกลูก
แต่เราฝึกฝนที่จิตของเรา ค่อยๆออกจากกองทุกข์ให้ได้ ด้วยการประพฤติ ปฏิบัติของเรา ย่อมทำให้สำเร็จได้ในสักวัน...
เปรียบเสมือนกองขยะกองใหญ่ๆกองหนึ่ง เราก็ไปอยู่ในกองขยะนั้น …
เราจะกวาดจะล้าง จะทำให้กองขยะที่ใหญ่มากนั้นหมดไป ด้วยตัวเล็กๆของเราคนเดียว-- เราทำไม่ได้หรอกลูก
แต่ถ้าเกิดเราเดินออกจากกองขยะนั้นมา โดยที่เราไม่ต้องอยู่กับมันอีกต่อไป เราอยู่ห่างมันดีกว่า มันก็เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า
จงยกจิตของตน ให้อยู่เหนือกองทุกข์ทั้งปวง
จงฝึกจิตของตน ให้รู้จักปล่อยวาง รู้จักคำว่า "ปล่อยวาง" ด้วยจิต
และปล่อยที่จิต ฝึกจิตให้อยู่เหนือจากทุกอย่าง
... ลูกก็จะพบกับความสุข ในสักวัน
+ +
พระพุทธองค์ท่านได้ทรงเมตตาแสดงธรรมกับข้าพระพุทธเจ้า มาดังนี้
ข้าพระพุทธเจ้าจึงนำมาเผยแผ่ เผยแพร่ให้แก่ญาติบุญทั้งหลาย ได้ฟังเพื่อพิจารณาธรรมร่วมกัน
ขอให้ท่านทั้งหลายจงพบแสงสว่างในธรรมของพระพุทธเจ้า ทุกภพ ทุกชาติ ตลอดไป จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน
สาธุ
|| - ||
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 20, 2016, 02:36:13 am โดย thanapanyo »

บันทึกการเข้า