ผู้เขียน หัวข้อ: Rec-1124 อุเบกขาบารมี  (อ่าน 1203 ครั้ง)

thanapanyo

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4508
    • ดูรายละเอียด
Rec-1124 อุเบกขาบารมี
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2015, 05:57:51 am »




ธรรมะเปิดโลก วันที่ 31 พฤษภาคม 2558
ตอนที่ 44 **อุเปกขาบารมี**
ในเช้าของวันนี้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้านอบน้อมต่อองค์พระบิดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านแล้วนั้น พระองค์ท่านได้ทรงเมตตาแสดงธรรมกลับมา กับพวกเราทั้งหลาย ดังนี้ว่า
- - - -
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. การที่ดวงจิตทุกๆดวง จะเผชิญกับสิ่งใดๆก็ตาม ดวงจิตดวงนั้น เขาย่อมต้องสร้างเหตุนั้นเอาไว้แล้ว
การที่ดวงจิตใด ดวงจิตใด ได้รับชะตากรรม ชีวิตเป็นแบบไหน
-- ดวงจิตดวงนั้น เขาย่อมได้กระทำสิ่งนั้นเอาไว้แล้ว --
และกฎแห่งกรรมก็เป็นสิ่งที่คุมไว้ทั้งหมดของวัฏสงสารนี้...
**ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่สามารถหนีพ้นกฎแห่งกรรมได้ **
ฉะนั้น การที่เราจะช่วยเหลือผู้อื่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งว่า
เมื่อมี*เมตตา* แล้ว ก็ต้องมี*อุเบกขา*
ซึ่งเป็นเบรกที่จะทำให้เรานั้นไม่ได้ช่วยเหลือใครคนใดคนหนึ่งด้วยความเมตตา
> จนมองข้ามกฎแห่งกรรม และจนทำให้ตนนั้นกลับกลายเป็นทุกข์ …
*อุเบกขา* จึงควรมีอยู่ในเรา
อุเบกขานั้น ไม่ใช่การใจดำ ไม่ใช่การไม่ช่วยเหลือ ไม่ใช่การที่เรานั้นไม่มีน้ำใจ
แต่ *อุเบกขา* คือ สิ่งที่มีไว้ เพื่อกันขอบเขต…
- ไม่ให้เราละเมิดต่อกฎแห่งกรรม
- ไม่ให้ละเมิดต่อตนเอง
- ไม่ให้เบียดเบียนต่อผู้อื่น
- ไม่ให้เบียดเบียนต่อตนเอง
เพราะส่วนใหญ่แล้วการที่เราช่วยเหลือผู้อื่นมาก // ห่วงผู้อื่นมาก ...
มากจนเรานั้น ลืมมองเห็นความจริง คือ “กฎแห่งกรรม”
มากจนเรานั้น ลืมดูกำลังของตนเอง ย่อมทำให้เราเป็นทุกข์.. ทำให้บุคคลเป็นทุกข์
บางคน ถ้าเราเป็นห่วงเขามาก มากจนเราทำทุกวิถีทางให้แก่เขา บอกเขาทุกอย่าง ...
ก็อาจจะทำให้เขาอึดอัด / เป็นทุกข์ ในสิ่งที่เราบอก เรากล่าว ในการกระทำของเรานั้นด้วย
ถ้าหากว่าเรามีเมตตา อย่างเดียว -- แต่ไม่มีอุเบกขา
*อุเบกขา* นั้นก็ คือ การวางเฉย ปล่อยวาง เบรกหยุด
รู้จักคำว่า “ปล่อยวาง”บ้าง // “หยุด” อยู่บ้าง
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. การที่เราทำอะไรไปทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่มีคำว่า*ปล่อยวาง*
ทำก็สักว่าทำ.. ทำไปแล้วเหตุปัจจัยของมันจะเป็นแบบไหน เราก็ปล่อยให้มันเป็นไปเช่นนั้น
การที่เราช่วยเหลือใครคนหนึ่ง เราก็ช่วยไปเท่าที่จะช่วยได้ อยู่ในกรอบ ขอบเขต ตามกำลังของเรา
แล้วก็มีอุเบกขา
-- ไม่ต้องเป็นสุข เป็นทุกข์ เดือดร้อน กับบุคคลนั้นๆ ชีวิตของเราจึงจะมีความสุข --
การที่เรามีเมตตา แต่มีเมตตามากเกินไป โดยไม่มีอุเบกขานั้น...
อาจทำให้เราเหนื่อย ท้อ ล้า กับการทำความดี กับการเป็นคนดี
แต่ว่าเราทำความดีเกินขอบเขต ทีนี้ก็เลย…
// ทำให้เกิดการตัดทอนกำลังแห่งการทำความดีของเรา
// ทำให้เราเบื่อ
// ทำให้เราไม่อยากทำความดีอีก
// ทำให้เราทำไปแบบผิดๆ.. ทำไปแบบไม่มีอุเบกขา
ก็เลยไม่สามารถที่จะอยู่ในกรอบความดี
ไม่สามารถจะอยู่ในการสร้างความดีที่สำเร็จได้ อย่างแท้จริง
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. การมีอุเบกขา ก็เป็นอีกทางที่ทำให้เรานั้น สามารถทรงตัวอยู่ในคุณงามความดีได้
เหมือนรถคันหนึ่งที่มีเบรก ถ้าไม่มีเบรก ก็ไม่สามารถที่จะควบคุมรถคันนั้น ให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ตามใจเรา
ถึงเวลาจะจอด ก็จอดไม่ได้ ถึงเวลาจะเลี้ยว จะโค้ง ก็โค้งไม่ได้ เพราะไม่มีเบรก // ก็เลยตกเขาบ้าง ตกเหวบ้าง
... ทำให้เราได้รับความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด บาดเจ็บ
การที่เราทำอะไรก็ตาม ถ้าเกิดว่าเราไม่มีอุเบกขา ก็จะเป็นเช่นนั้น..
-- ทำให้เราทรงสภาวธรรมอยู่ในคุณงามความดี อย่างสง่างาม อย่างแท้จริงไม่ได้ --
ทำให้เราคอยเป๋ เดี๋ยวก็เป๋ไปกับเรื่องคนนั้นบ้าง เดี๋ยวก็เป๋ไปกับเรื่องคนนี้บ้าง
คอยเป็นแต่อยู่อย่างนั้น จนเราไม่มีความสุขเลย...
ลูกทั้งหลายเอ๋ย..
บุคคลที่มีความเมตตา คือ ฝึกฝนตนเองจนมีความ *เมตตา* มากแล้ว
บุคคลผู้นั้น ก็ควรที่จะฝึกให้ตนนั้น มี*อุเบกขา* ด้วย
-- เพราะหากว่าเรานั้นมีเมตตา แต่ไม่มีอุเบกขา ก็จะทำให้เราเป็นทุกข์ --
การฝึกให้เรามีอุเบกขานั้น ฝึกจากการที่เรา “รู้กฎแห่งกรรมว่า “
ถึงแม้ว่าเขาจะดูน่าสงสารขนาดไหน แต่ทุกคนเกิดมาตามกรรมของตน …
ถึงแม้ว่าเขาจะน่าให้ความช่วยเหลือมากขนาดไหน-- แต่ทุกคนก็อยู่ภายใต้ “กฎแห่งกรรม”
เราจะสามารถที่จะช่วยเขาได้มากขนาดไหน เราก็พิจารณาไปตามเหตุอันสมควรที่จะช่วยเหลือเขา
ตามกำลังของเรา ที่พอจะช่วยได้
และหากว่าบุคคลคนนั้น เราได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ถึง 2 ครั้ง เกิน 3 ครั้งแล้ว เขาก็ยังเป็นอยู่อย่างเดิม ไม่ยอมปรับเปลี่ยน ปรับปรุงตนเอง..
เราต้องคอยแบกเขาให้เดินไป ทีละย่างก้าวๆ เมื่อเราวางลง เขาก็หยุดเดิน คือ ไม่รู้จักปรับปรุง ปรับเปลี่ยน พัฒนาตนเองให้สูงขึ้นมา
...ท้ายที่สุด เราต้องคงต้องอุเบกขา
ปล่อยให้มันเปลี่ยนไปตามเหตุของมัน
ปล่อยให้มันเป็นตามกฎแห่งกรรม
... และเราเองก็ได้ช่วยเหลือแล้ว ใช่ว่าจะไม่ช่วยเหลือ -- เราก็ต้องปล่อยให้มันผ่านไป
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. กฎแห่งกรรมนั้นคุมไว้ อยู่ในดวงจิตของทุกคน
ใครที่ได้รับสิ่งใดนั้น ล้วนแล้วแต่มาจากผลการกระทำของเขาทั้งนั้น...
หากว่าเรามัวแต่เอาเรื่องของคนนั้นมา เอาเรื่องของคนนี้มา.. ทำให้เรารู้สึกเศร้าหมองในใจ
คนนั้นทำไมถึงลำบากเช่นนั้น คนนี้ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ -- เราก็พลอยแต่จะเป็นทุกข์เปล่าๆ
หากว่าเรามีกำลังที่จะช่วยเหลือคนยากจน ลำบาก เหล่านั้น ได้แค่ไหน เราก็ทำตามไป ตามเหตุ ตามปัจจัย ตามกำลังที่เราพอจะมีอยู่
หากว่าเรานี้ได้ช่วยไปแล้ว > ก็จงปล่อยวาง อุเบกขา ปล่อยให้มันเป็นไปตามเหตุของมัน
จงอย่าเป็นทุกข์เลย.. ลูกเอ๋ย..
เพราะถ้าหากว่าคนลำบาก เราต้องช่วยทั้งหมด คนที่เขาตกทุกข์ได้ยาก เราต้องช่วยทั้งหมด เราจึงจะเป็นคนดี
-- โดยที่ไม่ดูกำลังของตนเองเลย…
หากว่าเป็นเช่นนั้น เทวดา โพธิสัตว์ ก็คงจะ..
ช่วยเหลือจิตวิญญาณเร่ร่อน
ช่วยเหลือจิตที่โดนไฟเผาอยู่ในนรก ช่วยเหลือให้ไม่อยู่ในนรกเลยแม้สักคนหนึ่ง
...แล้วก็ช่วยเหลือทุกคน ที่ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ให้มีใครยากจนเลยสักคนหนึ่ง ...
และถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้น กฎแห่งกรรมล่ะลูกเอ๋ย..
กฎแห่งกรรมจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร ใครจะกลัวต่อการทำความชั่ว
ถ้าเป็นอย่างนั้นล่ะ ลูกเอ๋ย.. ก็คงจะสร้างแต่กรรมชั่ว ทำแต่สิ่งไม่ดี
.. จนโลกใบนี้ /วัฏสงสารนี้ ไม่มีที่ใดที่น่าอยู่เลย…
เหตุฉะนั้น จึงมีกฎแห่งกรรม เหมือนกฎหมายบ้านเมือง คุ้มครองดูแลอยู่ในวัฏสงสารนี้
ทุกคนจึงเป็นไปตามกฎแห่งกรรม
หากเราช่วยเหลือ จงช่วยตามกำลังที่มีอยู่...
อย่าช่วยจนเกินกำลังของเรา-- จนทำให้เราเป็นทุกข์
เมื่อมี *เมตตา* ก็ดีแล้ว แต่จงมี*อุเบกขา* ด้วย
จึงจะดีอย่างแท้จริง
จึงจะทำให้เรานั้นมีความสุขในการช่วยเหลือผู้อื่น
หากว่าเรานั้น มีความเมตตาล้นเหลืออยู่ในจิตในใจของเรา...
.. เจอใครเขาเศร้า ก็เศร้าไปกับเขา
.. เจอใครเขาทุกข์ ก็ทุกข์ไปกับเขา
ชีวิตของเราจะมีความสุขได้อย่างไรเล่า และสิ่งเหล่านั้น ก็เป็นสิ่งที่เราคิดเอง นึกเอง ว่าน่าจะช่วยแบบนั้น ช่วยแบบนี้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ลูกเอ๋ย.. โลกใบนี้ มีผู้คนมากมาย และมีหลากหลายผู้คนที่ยังตกทุกข์ได้ยาก ยังลำบากอยู่ -- เราไม่สามารถที่จะช่วยได้ทั้งหมดหรอกลูก --
และที่สำคัญก็คือ < ทุกคนก็แค่เกิดมามาตามกรรมของแต่ละคน >
คนบางคนเขาก็มีความคิด มีการกระทำที่แตกต่างกันไป เขาก็เลยต้องเจอกับชีวิตเช่นนั้น.. ด้วยการกระทำของเขา
เราไปแนะนำ ไปยุ่งกับเขามาก กลับกลายเป็นเรื่องเป็นราวกลับมาที่เราเสียอีก
ฉะนั้น ลูกทั้งหลาย.. จงมีอุเบกขาไว้อยู่ในตนด้วยเถิด แล้วลูกนั้นจะไม่หกล้ม จะไม่ตกเหว จะไม่เจ็บปวด ทุกข์ทรมาน
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. จงจำไว้เถิดลูก กฎแห่งกรรมนั้นเป็นสิ่งที่คุมไว้อยู่
เมื่อเราทำดีไปแล้ว ก็ปล่อยให้มันผ่านไป > อย่าไปทุกข์กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่อยู่บนโลกใบนี้เลย …
-- เพราะจะทำให้เราเหนื่อย และทุกข์ใจเปล่าๆ --
สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2015, 08:29:45 pm โดย thanapanyo »