มหาวิชชาลัยธรรมิกราช
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว:
SMF - Just Installed!
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
มหาวิชชาลัยธรรมิกราช
»
ธรรมะกึ่งพุทธกาล
»
ธรรมะเปิดโลก
»
Rec-1104 เนกขัมมบารมี
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: Rec-1104 เนกขัมมบารมี (อ่าน 1271 ครั้ง)
thanapanyo
Administrator
Hero Member
กระทู้: 4507
Rec-1104 เนกขัมมบารมี
«
เมื่อ:
พฤษภาคม 24, 2015, 08:28:38 pm »
ธรรมะเปิดโลก วันที่ 24 พฤษภาคม 2558
ตอนที่ 37 **เนกขัมมบารมี**
ในเช้าของวันนี้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้านอบน้อมต่อองค์พระบิดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านแล้วนั้น พระองค์ท่านได้ทรงเมตตาแสดงธรรมกลับมา กับพวกเราทั้งหลาย ดังนี้ว่า
- - - -
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. การออกบวช เป็นการฝึกจิตของตนให้ออกไกล ห่างไกลจากกิเลสตัณหาทั้งหลาย
มองเห็นในโลกของทางธรรม-- เพื่อพ้นทุกข์
การที่เรานั้นได้ไปฝึกเปิดโลกแห่งทางธรรมนั้น ย่อมทำให้เราเห็นโลกในอีกมุมหนึ่ง ที่สงบ.. สุข..
ไม่ดิ้นรน ไม่เร่าร้อน ไม่ต้องขวนขวาย ปล่อยวาง ปล่อยว่าง จากสรรพสิ่งไป
การที่เราฝึกตนให้ออกบวชอยู่บ่อยๆ เป็นการที่เรานั้นได้ยกจิตออกจากกองทุกข์
เมื่อเราได้มาอยู่ในที่ที่เย็นบ่อยๆ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า ในทางโลกนั้น เป็นที่ที่ร้อน
และเราก็จะเริ่มรู้ว่า …
* สิ่งใด คือ ความทุกข์
* สิ่งใด คือ ความร้อน
* สิ่งใด คือ สิ่งที่หลอกเราอยู่
< เมื่อเรามาอยู่ในทางธรรมแล้ว เราก็จะมองเห็น “ความเป็นจริงที่อยู่ในทางโลก” ชัดมากขึ้นๆ >
ฉะนั้น *การบวช* จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคล ผู้ที่ปรารถนาจะพ้นทุกข์
ถ้าเราได้ทำหน้าที่ขั้นต้น คือ การทำทาน รักษาศีลแล้ว
> เราต้องมีการบวช
ถ้าเราได้มีการบวชเพิ่ม-- เราก็จะเข้าใจมากเพิ่มขึ้นไปอีก
เข้าใจในทางโลก
เข้าใจในทางธรรม
และเข้าถึงในทางพ้นทุกข์ อย่างแท้จริง
< การออกบวชนั้น คือ การมาเพื่อตัดจากทางโลก ตัดจากความวุ่นวายทั้งหลาย เข้ามาอยู่ในความสงบ >
การที่เราออกบวชแล้ว เราบวชเพื่อละ เพื่อตัด เพื่อวาง ไม่ได้มีจุดประสงค์อื่นใด..
การออกบวชนั้น จึงจะสามารถนำพาให้เราสำเร็จ บรรลุถึงเป้าหมาย คือ *ความพ้นทุกข์* ได้
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. จงทำความเข้าใจในการออกบวชอย่างแจ่มแจ้งเถิดลูก
> การออกบวชนี้ ..
- ออกบวชเพราะอะไร
- จำเป็นมากขนาดไหน
- การออกบวชนี้ ออกบวชมาเพื่อทำอะไร
แล้วทำตนให้เข้าถึง เข้าใจ ในการออกบวช อย่างแท้จริง
-- การออกบวชของลูกนั้น จึงจะมีผล --
การออกบวช ฝึกจิตแห่งตนให้ห่างไกลจากกิเลสตัณหา ..ฝึกอย่างไรเล่า
การฝึกอย่างไรนั้น ก็อยู่ที่การบวชของเรา... จะปล่อย จะละ จะวางได้มากเพียงใด
เมื่อเราฝึกตัด โดยการมาบวชแล้ว
ทิ้งบ้าน ทิ้งข้าวของ หนี้สิน ทรัพย์สิน ลูกหลาน บริวาร ทิ้งไปเลย ไม่สนใจ -- เพราะฉันไปบวชแล้ว
< นี่คือ *การตัดในครั้งที่ 1* >
เมื่อเราตัดจากภายนอกแล้ว และเราก็มาบวชแล้ว ไม่ว่าจะเป็น 3 วัน 5 วัน 7 วัน.. หรือตลอดไป
ให้เราฝึกตัดในจิตอีก ความกังวล /ความเป็นห่วง /ความคิดต่างๆเหล่านั้น ให้ละ ให้วาง ให้ว่างในจิตให้ได้ ...
อันนั้น คือ การตัดบ่วง ตัดสิ่งที่จะถ่วงการบวชของเรา ตัดทิ้งไปแล้ว
เมื่อเรามาบวชแล้ว ไม่ได้ห่วง ไม่ได้นึกถึงอะไรแล้ว
--ทีนี้จิตเราก็จะว่าง--
เมื่อเกิดจิตที่ว่างขึ้นมา เราก็จะเกิดสติ เกิดปัญญาในทางธรรม
“ความสงบ” นั่นแหละ..ลูกเอ๋ย คือ การออกบวชแล้ว
ความสงบที่ค้นพบอยู่ในตัวของเรานั่นแหละ..ลูกเอ๋ย คือ “การสำเร็จในการออกบวช” ในคราวครั้งนั้นแล้ว เพราะว่าเราได้เจอความสุข คือ ความสงบแล้ว
จิตใจของเราไม่วุ่นวาย ไม่เป็นทุกข์ ไม่เร่าร้อน สงบนิ่ง...
// เหมือนอยู่ในดินแดนความสงบสุข ในแห่งใดแห่งหนึ่ง
// เหมือนกับว่าเรานั้น ได้ลาออกมาจากโลกแห่งกองทุกข์นั้นแล้ว
// เหมือนกันกับว่าเรานั้น อยู่ด้วยกัน ในคนละโลกเดียวกัน
การออกบวชที่เจอความสงบ คือ เราเห็นโลกแห่งทางธรรม
เมื่อเราตัดทางโลกแล้ว มาเจอทางธรรม
ก็เจอความสุข ในการออกบวช
ทีนี้เมื่อเราเห็นความสุข เราจะเห็นความแตกต่างระหว่าง *ทางโลก* และ *ทางธรรม*
เมื่อเห็นความแตกต่างแล้ว เราก็เริ่มพิจารณาเห็นความเป็นจริงคือ...
จะดิ้นรนไปทำไมหนอ //
จะทุกข์ไปเพื่อสิ่งใดกัน //
จะยึดติดกันไปทำไม //
< สรรพสิ่งนั้น ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้เลย มีตั้งขึ้นอยู่ และดับไป >
ทีนี้เราก็ถอดถอนความลุ่มหลงในทุกสิ่ง..
เมื่อไม่มีความลุ่มหลงในทุกสิ่งทุกอย่างนั้นแล้ว เราก็ไม่ต้องไปสร้างกรรมเพื่อสิ่งใดอีก ..
เมื่อเราหยุดการสร้างกรรมเพิ่ม และบำเพ็ญไปเรื่อยๆ
สักวันหนึ่ง เรานั้นก็จะหมดหนี้กรรมจากสิ่งที่ไม่ดี
-- การออกบวชของเราก็จะนำพาเรา ไปสู่ทางพ้นทุกข์ได้ --
นี่แหละลูกเอ๋ย คือ การออกจากทางโลก เพื่อการพบทางธรรม
คือ การพบทางธรรมแล้ว พิจารณาให้แจ่มแจ้งในทางโลก
< การออกบวช จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งนัก-- สำหรับบุคคลผู้ใดที่ต้องการจะพ้นทุกข์ >
การฝึกจิตแห่งตนให้ไปอยู่ในอีกโลกหนึ่งบ่อยๆนั้น.. ทำให้เราห่างไกลจากกิเลสตัณหานั้น ได้บ่อยๆเช่นเดียวกัน
เมื่อแยกไป แยกมา แยกบ่อยๆเข้า เราก็เริ่มรู้ เริ่มเห็น ตามสภาวธรรมความเป็นจริง
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. ทุกครั้งที่ลูกได้มีโอกาสออกบวชแล้วนั้น
- จงรู้ค่าในเวลาที่ได้มีนั้นเถิด
- จงอย่าปล่อยให้เวลาสูญเปล่าไปเลย
คิดแต่ว่า การออกบวชในวันนี้ เราได้ตายจากในทางโลกแล้ว --ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่รักที่พอใจ ทรัพย์สิน ข้าวของ หนี้สิน หรือจะเป็นอะไรก็ตาม เราได้ตายจากแล้ว
ทางโลกดับลง เมื่อเราก้าวสู่การบวช ไม่ว่าจะเป็นเวลาสั้นหรือยาวนานก็ตาม ให้นึกอย่างนี้ คิดเช่นนี้
เพื่อตัดบ่วง ที่ยังรัดถ่วงจิตใจของลูกเอาไว้
** การออกบวช จะได้สำเร็จในการบวชอย่างแท้จริง**
จงอย่าพะวงนึกถึงเรื่องอื่นๆ เลย..ลูกเอ๋ย เพราะนี่คือ *นักบวชแล้ว* // เราคือ *นักบวชแล้ว*
ฉะนั้น เราต้องทำในสิ่งที่นักบวชควรทำ.. ไม่ควรเป็นกังวลสิ่งใดอีก
นักบวช ควรละ /ควรเลิก /ควรวาง -- วางจากสรรพสิ่ง ไม่ควรยึดถือในสิ่งใดอีกต่อไป
นักบวชต้องวางสิ่งที่มีทุกอย่าง วางให้ได้มากที่สุด
ยิ่งวางได้มากเท่าไหร่ ยิ่งปล่อยได้มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเข้าใกล้ความพ้นทุกข์ มากเท่านั้น
จงฝึกจิตแห่งตน ให้รู้จักการปล่อยวาง ตัดทางโลกเสียเถิด
และฝึกจิตของตนให้สำเร็จอยู่ในทางธรรม
-- ความสำเร็จของเรานั้น ก็จะนำพาเราให้พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างเอง --
ปัญหาต่อให้เราจะคิดไป ถ้ามันไม่มีทางออก มันก็ไม่มีทางออกอยู่ดี
ต่อให้เราจะปล่อยวาง ถ้ามันจะมีทางออก มันก็ย่อมมีทางออกให้แก่เราเอง
ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา คือ ปมปัญหาที่เราได้ผูกไว้แล้ว ตั้งแต่เมื่อก่อนโน้น
ก็เพราะว่าเรา ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา
ก็เพราะว่าเรายังลุ่มหลงอยู่
... เราก็เลยยังเป็นทุกข์อยู่
บัดนี้ วันนี้ เราได้มีโอกาสออกบวชแล้ว -- เราจงตัดสิ่งเหล่านั้นทิ้งไปเถิด
แล้วตั้งใจบำเพ็ญให้พบแสงสว่าง อย่างแท้จริง…
เมื่อก่อน เราเลือกทางเดินที่วุ่นวายนั้น
บัดนี้ ชีวิตของเราก็เลยวุ่นวายไม่สิ้นสุด
... แต่ตอนนี้เราเบื่อหน่ายกับความวุ่นวายนั้นแล้ว
เราเลือกทางสงบให้แก่จิตใจของเราเถิด แล้วต่อไป เราก็จะได้เจอกับความสงบ เช่นเดียวกัน
เมื่อเราพิจารณาให้ดีแล้วว่า เราทุกข์เช่นนี้มานานแล้วหนา ทุกข์วนไปเวียนมา ไม่จบสักที
วันนี้ฉันทำจิตใจเข้มแข็ง ข้ามพ้นวิกฤต อันทุกข์ทรมาน เจ็บปวด ทุกข์ยากลำบากนี้ให้ได้
-- เราจะฟันฝ่ามันไป ด้วยการปล่อยวาง --
อะไรจะเกิด ก็ให้มันเกิดไป
อะไรจะเป็นไปแบบไหน ก็ให้มันเป็นไป
-- แต่ฉันจะอยู่ในความสงบ จะไม่กังวล // ไม่นึกถึงในเรื่องใดอีกต่อไปแล้ว --
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. ผู้ที่ออกบวช และปรารถนาความพ้นทุกข์นั้น > ต้องฝึกตนให้ปล่อยวางให้ได้
พระอรหันต์ทุกพระองค์ ก่อนจะสำเร็จนั้น ท่านทั้งหลาย ย่อมเจอกับอุปสรรคกีดขวางมากมาย
ความทุกข์ที่มากมายแสนสาหัส เข้ามาทดสอบ
> แต่จิตใจหนักแน่น แน่วแน่ ที่นำพาออกจากกองทุกข์ได้ …
เราทุกคน หากจะออกไปจากวัฏสงสารนี้ ย่อมต้อง...
- เจอบททดสอบอันหนัก
- เจอบททดสอบอันทุกข์ทรมาน
... เข้ามาทดสอบเรา ว่าเราจะกล้าปล่อยวาง ข้ามพ้นมันไปได้มั้ย
แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังต้องฝึก // และต้องผ่าน
... มีความทุกข์ทรมานมากมาย เช่นเดียวกัน
ฉะนั้น เมื่อเราจะออกไปจากกองทุกข์ เราก็ต้องฝึกจิตแห่งตนให้ออกจากทุกข์ให้ได้..
โดยการปล่อยวาง / ปล่อยให้มันเป็นไปเช่นนั้นเลย แล้วเราจะได้อยู่คนละจุดกับมัน
เมื่อเราปรารถนาที่จะออกจากกองทุกข์.. เราก็ต้องฝึกออกให้ได้
เมื่อเราฝึกออกในจิตของเราได้แล้ว เมื่อครั้งเรานั้นดับไป เราจะได้ออกได้อย่างแท้จริง
ถ้าจิตของเรายังติดอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น เราก็ย่อมต้องดูเชือกเส้นนั้น รัดมัดไว้ในกองทุกข์เอง
ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. ลูกจะเดินออกจากกองทุกข์ ไม่ใช่หรือลูก แล้วลูกจะเอาทุกข์ไว้ทำอะไร
ปล่อยเขาไปเถิด...
เอาจิตแห่งตนให้ออกจากเขาให้ได้เถิด แล้วลูกนั้นจะได้เป็นนักบวชที่สำเร็จในการบวช จะได้ถึงเป้าหมายที่ต้องการให้ถึง การออกบวช ฝึกฝนคนให้พ้นทุกข์ เช่นนี้แหละ..ลูกเอ๋ย
-- ไม่มีจุดประสงค์อื่นใด นอกจากความพ้นทุกข์ --
อย่าพึงเข้าใจเลยว่า ...
บวชแล้ว ชีวิตจะสบายขึ้น
บวชแล้ว คงจะได้สิ่งนั้นสิ่งนี้มา
บวชแล้วคงจะเป็นสุข
ลูกทั้งหลายเอ๋ย..
ความสุขนั้น อยู่ในจิตของเรา
ความสุขนั้น อยู่ในการค้นพบความจริง
ความสุขนั้น อยู่ในการยอมรับความเป็นจริง
ฉะนั้น เมื่อลูกออกบวชแล้ว แต่ยังหาความสุขที่แท้จริงไม่เจอ ลูกก็ยังทุกข์อยู่เช่นนั้น...
เพราะลูกเข้าใจผิดว่า บวชแล้ว คงจะได้สิ่งนั้น มีสิ่งนี้ แล้วจะเป็นสุข
ไม่ใช่เช่นนั้นเลย.. ลูกเอ๋ย
เพราะการได้สิ่งใด / มีสิ่งใด / เจอสิ่งใด .. สิ่งเหล่านั้นก็ล้วนแล้วแต่ เป็นทุกข์ทั้งนั้นเลย
-- จงหาความสุขที่สงบ สุขที่พ้นทุกข์ ให้เจอในการออกบวชเถิด แล้วจะได้พ้นทุกข์อย่างแท้จริง --
สาธุ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
มหาวิชชาลัยธรรมิกราช
»
ธรรมะกึ่งพุทธกาล
»
ธรรมะเปิดโลก
»
Rec-1104 เนกขัมมบารมี