ธรรมะกึ่งพุทธกาล > คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล

Rec-3556 จิตมีสิทธิ์ที่จะเลือก

(1/1)

thanapanyo:


คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล   วันที่ 12  เมษายน  2564
ตอนที่ 139  **จิตมีสิทธิ์ที่จะเลือก**
+ +   

ในเช้าของวันที่  10  เมษายน  พ.ศ. 2564     ณ สวนธรรมิกราช
เมื่อท่านพระยาธรรมิกราช ได้กราบนอบน้อมเข้าเฝ้าต่อองค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่าน เพื่อเฝ้าฟังธรรมแล้ว  จึงได้นอบน้อมเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ท่านไป ดังนี้ว่า...

“ ข้าแต่องค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าขา..
วันนี้ ลูกปรารถนาจะขอเฝ้าทูลถามถึง ข้อธรรม บทที่ 138  น่ะเจ้าค่ะ

คือว่าลูกนั้น เกิดสภาวธรรมขึ้นมาเช่นนี้ว่า..
ดวงจิตของคนเรานั้น มันก็มีสิ่งที่ครอบงำจิตของเราเอาไว้อยู่.. เป็นลำดับๆ เป็นชั้นๆไป
เปรียบเสมือนดังพื้นดิน
ถ้าเกิดว่าเราอยู่ข้างบนนี้.. เราก็จะเห็นพื้นผิวของพื้นดิน เป็นอีกแบบหนึ่ง
แล้วก็ตามสภาวะของพื้นดิน บนพื้นผิวนี้ก็อาจจะร้อนบ้าง  มีสภาวะตามธรรมชาติตามสิ่งนี้

ถ้าหากว่า ขุดชั้นดินลงไป -- มันก็จะมีผิวของดินที่แตกต่างไป
ขุดลึกลงไป - ก็อาจจะเจอหิน
ขุดลึกลงไป - ก็อาจจะเจอตาน้ำ
แล้วพอลึกไปถึงข้างล่าง - ก็จะมีน้ำที่ใส แล้วก็เย็นมาก

เช่นเดียวกับจิตของคนเรา น่ะเจ้าค่ะ
ถ้าหากว่าเราปล่อยจิตของเรา อยู่กับสภาวะของทางโลก -- เราก็จะเจอกับสิ่งที่มันเป็นธรรมชาติของโลก - ก็คือ ความทุกข์  ความเร่าร้อน

แต่ถ้าหากเราน้อมจิตของเรา  กดจิตของเราให้ดิ่งลงไปสู่ศูนย์กลางกาย หรือสู่องค์ภาวนาของการปฏิบัติ -- เราก็จะเจอสภาวะที่เย็นขึ้น และเย็นขึ้น..

เมื่อเราดิ่งตัวของจิตนั้น ไปจนถึงต่ำสุดภายในแล้ว..  เราก็จะเจอกับความเบา ความสบาย ความว่าง
เจอกับสภาวะอันบริสุทธิ์ของจิต
เช่นเดียวกันกับการที่เรา ขุดไปจนเจอตาน้ำ น่ะเจ้าค่ะ

ลูกจึงจะขอถึงพระพุทธองค์  โปรดทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง เพื่อพิจารณาตามว่า..สภาวธรรมของจิต  และสิ่งที่เคลือบจิตอยู่นั้น เป็นแบบไหน ยังไง ?
และเราจะต้องดันจิตของเราให้เข้าสู่ภายใน และส่วนลึกของจิต แบบไหน ยังไงบ้าง ?  น่ะเจ้าค่ะ

ขอพระพุทธองค์โปรดทรงเมตตา  แสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟังด้วยเถิด พระพุทธเจ้าค่ะ ”
- - - -

ดีแล้วละ พระยาธรรมเอย..  ถ้าอย่างนั้น ก็ให้ลูกจงหมั่นสังเกตดูนะ
สังเกต พิจารณาจิตของตน 
ไล่ตามลำดับของแต่ละชั้น - ที่ควบคุม ครอบงำจิตเอาไว้อยู่
และจงพิจารณา เป็นลำดับๆไป  ตามนี้เถอะ..พระยาธรรม

ประการที่ 1 -- นั้น
ให้ลูกลองพิจารณา ให้เห็นโลกกับธรรม  สภาวธรรมของโลก กับสภาวธรรมของทางธรรม น่ะลูก

ถ้าหากว่าเรานี้อยู่กับโลก อยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่  ดำเนินอยู่  หากินหาอยู่
อยากได้  อยากมี  อยากเป็น..
วิ่งวุ่น  แข่งขันกัน
-- เพื่อที่จะหาให้ได้มาด้วยสิ่งนั้น สิ่งนี้ --
... แล้วก็ยึดติดกันเอาไว้  ไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นๆ - ดำเนินไปตามเหตุ  ++

แต่ก็หยุดยั้งมันไม่ได้.. เมื่อสิ่งที่ได้มา ต้องสูญเสียออกไป
... ก็เกิดความทุกข์ ความเร่าร้อน..

โลกนั้น ก็อยู่ด้วยกัน..
- ด้วยการแข่งขันกัน
- ด้วยการแย่งกันอยู่  แย่งกันกิน  แย่งกันใช้
ดิ้นรนกันไป 
สุดท้าย.. ก็พลัดพรากจาก ตายไปอยู่ดี

โลก - จึงเต็มไปด้วยความทุกข์
โลกนั้น - จึงเต็มไปด้วยความเร่าร้อน รุ่มร้อน

ถ้าหากว่า เราปล่อยจิตของเรา คลุกเข้ากับสภาวะเหล่านี้.. 
ย่อมแน่นอนละ พระยาธรรม ว่า..
เราก็จะเจอกับสภาวะของโลก ที่มันเป็นอยู่ /  สิ่งที่มันดำเนิน

ก็ถ้าเราอยู่ในที่ไหน..
-- เราก็เจอกับธรรมชาติของสิ่งที่เป็นอยู่ - ในที่นั้นละลูก  --

ทีนี้  เราก็พยายาม เอาจิตของเรา ตัดจากสภาวะของโลก - เข้าสู่ทางธรรม
เริ่มรู้จัก รักษาศีล  ภาวนา 
เริ่มรู้จัก  ฝึกฝนทำสมาธิ  ฝึกฝนปัญญา
... ให้เรานี้ เข้าสู่กระแสแห่งธรรม ++

ธรรมชาติจิต  เมื่อเริ่มเข้าสู่กระแสแห่งธรรม
... ก็จะเริ่มรู้สึกถึง ความสงบสุข  ความชุ่มเย็น  สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา

ลูกก็ลองเอาจิตของตน.. เข้าสู่กระแสธรรม  และสัมผัสมันดู ว่า..
มันมีความเย็น ความเบาสบาย - มากแค่ไหน ?
-- แตกต่างจากสภาวะของโลก เพียงใด ?

ทีนี้  เมื่อลูกโยกจิตของลูก - เข้าสู่กระแสแห่งธรรมแล้ว..
ลูกก็จะรู้เองนั่นละ พระยาธรรม.. ว่า
กระแสแห่งธรรมนั้น - เป็นกระแสที่เบาสบาย  ที่สุขสงบ  ที่ไม่รุ่มร้อน เย็น
และไม่เหมือนกันกับตอนที่ปล่อยให้จิตของตน - อยู่กับสภาวะของโลก +

ลูกพิจารณาเช่นนี้ ลูกก็จะเห็นได้ว่า..
เหมือนเช่นเดียวกันกับการที่เรา - ปล่อยจิตของเราคลุกเข้ากับชั้นผิว ของสภาวธรรมของโลก
* อยู่กับโลก.. เราก็ต้องรับกระแสความเป็นธรรมชาติของที่นั่น *

แต่ถ้าหากว่าเราโยกจิตของเรา - ปรับสภาวจิตของเรา.. เข้าสู่ธรรม
เราก็ย่อมเห็นสภาวะของกระแสธรรม ว่า.. สุขสงบ  เย็นสบาย
เป็นสุข ไม่ทุกข์อะไร ++

... เราย่อมเห็นตามความเป็นจริง เช่นนั้น…

แสดงว่า..  เมื่อจิตของเราโยกจิตมาสู่ระดับพื้นผิว  หรือว่ากระแสแห่งธรรมนั้น..
... เราย่อมเป็นสุข  ย่อมเย็น..

ก็เหมือนกันกับการที่เราอยู่บนพื้นดิน  แดดร้อนๆ -- ก็เจอกับสภาวะเหล่านั้น
เมื่อเราขุดลึกลงไป สู่ชั้นผิวที่ต่ำลึกลงไป -- มันก็เจอความชุ่มเย็น
แล้วก็เย็นมากขึ้นเรื่อยๆ...

มีสภาวะที่แตกต่างกันไป - เหมือนพื้นผิวโลกของเรา นี่ละลูก
และลึกลงไปด้านล่างสุด.. ก็จะเจอกับน้ำ - ที่เย็นสบาย

สภาวะของจิตเรา ถ้าปล่อยให้คลุกเข้ากับโลก.. ก็ย่อมเร่าร้อน
ถ้าเรารู้จักน้อมเอาจิตของเรา - เข้าสู่กระแสแห่งธรรม
... ก็ย่อมเย็นสบายดี  ++

ต่อไป ประการที่ 2 -- สภาวธรรมของกาย กับจิต น่ะลูก
ถ้าเราปล่อยใจให้จิตของเรา - มาวุ่นวายอยู่กับกาย

ก็คือ กายนี้ หิวบ้าง เหนื่อยบ้าง ขี้เกียจบ้าง 
เมื่อยล้าบ้าง  เจ็บปวดบ้าง
ร้อนบ้าง หนาวไปบ้าง

ร่างกายนี้.. เป็นสภาวะของความวุ่นวาย  ของความต้องดิ้นรน แสวงหา
ของการที่ต้องแบกรับ  สภาวะของความวุ่นวาย  เร่าร้อน.. อยู่ในกายนี้

ถ้าเราปล่อยให้จิตของเรา.. มาคลุกเข้ากับสภาวะแห่งกาย
ยึดเอา ถือเอากายนี้ ว่า.. เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
เราก็จะมัวแต่เจ็บตรงนั้น ปวดตรงนี้
เป็นอย่างนั้น  เป็นอย่างนี้
... วุ่นวายกันไปใหญ่  !

แต่ถ้าหากว่าเราปล่อยสภาวะของกาย - ให้เป็นไปตามเหตุของเขา
ไม่เอาจิต มาเกี่ยวข้องกับกายนี้.. จนมากเกินไป  เกินความพอดี
เพียงแต่สักแต่ว่า รู้
และเราก็น้อมจิตลงสู่ศูนย์กลางกาย - รวมจิตให้ตั้งมั่น

จิตของเรา มีฐานแห่งความสงบ อย่างตั้งมั่นอยู่ภายในแล้ว...
-- เราย่อมเจอกับความเบา  ความสบาย
-- เจอกับความว่าง  เจอกับความชุ่มเย็น
-- เราย่อมเจอกับความสว่าง  ความนิ่งเฉย 
ไม่เจอกับสภาวะของกาย - ที่มันสารพัดจะหาเรื่องให้เรา เป็นทุกข์ไปกับมัน

เราย่อมเห็นได้ชัดเจนว่า.. แท้ที่จริงแล้ว  สภาวธรรมแห่งกายนี้- เป็นของหนัก
เป็นของที่เรานี้ -- จะต้องแบกรับเอาไว้ด้วยทุกขเวทนาทางกาย

จิตของเราดิ่งลง - เข้าสู่สภาวะของการไม่ข้องเกี่ยวกับกาย
จิตนั้น.. ย่อมสุขสบาย  ย่อมเบาสบาย
จิตนั้น.. ย่อมเป็นสุข 
... ไม่มีอะไร ต้องเป็นอะไรทั้งหมด ++

แล้วก็เติมพลัง  ชาร์จพลังแห่งจิตนั้นให้เต็ม
-- เพื่อที่จะให้จิตนั้น.. อยู่อย่างผู้ทรงพลัง  และรู้ตื่นตามความเป็นจริง
ดำเนินสภาวะภายนอก  ตามเหตุตามปัจจัย 
ก็คือ สภาวะของกาย  และสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยกาย


เมื่อจิตตั้งมั่น  จิตทรงพลังมาก -- จิตก็จะไม่ทุกข์ เมื่อต้องถูกกระทบ
และก็จะรับกระทบแต่เพียงพอดี ++

แต่ถ้าหากว่า เราปล่อยจิตของเรา มาคลุกเข้ากับเรื่องของกาย  นานๆไปจนยึดเอากายเป็นเรา
/ เอาเราเป็นกาย
ยึดไปเช่นนั้น อย่างนั้น.. เราก็ย่อมเป็นทุกข์ และเร่าร้อน เจ็บปวด หิว  อิ่ม
นั่งนานไป  เดินนานไป  นอนนานไป..
-- ก็ย่อมเจ็บปวด เป็นธรรมดา  ++

ลูกเอ๋ย..  เราก็จะต้องรับสภาวะของกายอยู่ร่ำไป
ซึ่งถ้าหากว่า เราปล่อยจิตของเรา - คลุกเข้ากับสภาวะใด
-- จิตเราก็จะรับสภาวะนั้น ละลูก
ปล่อยให้คลุกเข้ากับสภาวะแห่กาย - เราก็จะต้องรับสภาวธรรมของกาย - เข้าสู่จิต

ถ้าเรานี้.. น้อมจิตของเราเข้าสู่ภายใน -- ไม่รับสภาวะแห่งกาย
เราก็ย่อมเกิดความสุข  ความสงบ
ความเบาแห่งจิต.. ย่อมจะเกิดขึ้น
... เช่นนี้ละลูก

ก็เหมือนกันกับการที่เรานั้นพยายามขุดให้ลึกลงไป - สู่ศูนย์กลางกาย
ดิ่งจิตของเรา.. ให้ลงไปสู่ภายใน

แล้วก็เอาความรู้สึกตามรู้  ความรู้สึกในจิต
แล้วเรานี้.. ก็รับสภาวธรรมแห่งจิต  คือ ความนิ่ง ความเบา ความสว่างไสว
โดยที่ไม่ข้องไม่เกี่ยว กับสภาวะของกาย
... เราก็ย่อมเป็นสุข ++

ฝึกฝนเช่นนี้ อย่างนี้ละลูก
ก็จะเหมือนกันกับการที่เรา ขุดชั้นผิวของพื้นดินนั้น - จนเจอตาน้ำ
เมื่อเราขุดลึกลงไป เจอตาน้ำแล้ว.. ย่อมมีความชุ่มเย็น
-- ย่อมได้กินได้ใช้ ได้อาบ - ด้วยน้ำที่เย็นสบาย  สะอาดเช่นนั้นละลูก  ++

ต่อไป ประการที่ 3 --
ประการที่ 3 - ก็ให้ลองพิจารณาดู สภาวธรรมของจิต  และสิ่งที่เคลือบจิต ดังนี้ว่า..

ถ้าหากว่าเรานี้ ปล่อยจิตของเรา - มารับคลื่นกระแสภายนอก  ก็คือ
เรื่องของกิเลสตัณหา - รัก โลภ โกรธ หลง / ความอยาก ความไม่อยาก
เรื่องของกาย  เรื่องของกาม  เรื่องของกิน  เรื่องของเกียรติ
เรื่องของมนุษย์โลก  เรื่องของร่างกาย 
เรื่องของสภาวะทั้งหลายในวัฏสงสารนี้
-- เราย่อมเป็นทุกข์ --

จิตของเราก็จะเคลิ้มตามสิ่งเหล่านั้น เรียกว่า สภาวะภายนอก
แต่ถ้าหากว่าเรานี้ น้อมจิตของเรา -- ทำให้จิตของเราดิ่งลึกลงไป สู่ภายใน
เราก็ย่อมเจอสภาวธรรมของจิต - ที่จิตนั้นสงบ ตั้งมั่น
-- มีความนิ่งเฉยๆ ความว่าง ความเบาสบาย เป็นธรรมดา ++

ฉะนั้น  ขึ้นอยู่กับว่า เราจะปล่อยจิตของเรา มารับสภาวะภายนอก
หรือจะน้อมจิตเข้าไปสู่ภายใน ไปรับสภาวะภายใน 

และเราก็สามารถที่จะสร้างพลังของจิต ให้มากขึ้นเรื่อยๆ - ในสภาวะภายใน
-- เพื่อที่จะเอาพลังภายใน.. มาอยู่กับสภาวะภายนอก เพียงสักแต่ว่า.. ได้ด้วย ++

ฉะนั้น พระยาธรรมเอย..  เราก็ลองดูสิ่งที่เคลือบจิตของเรา - ด้วยสภาวะภายนอก
และสิ่งที่เรานี้จะดิ่งลงไปสู่สภาวะภายใน.. ว่ามีความแตกต่างกันเช่นไร ?

มันมีความทุกข์  ความเร่าร้อนตามเหตุต่างๆ ของสิ่งทั้งหลาย- ภายนอก
ส่วนถ้าหากว่า เราเข้าไปสู่ภายใน
... เป็นธรรมดา เช่นนั้น อย่างนั้น…

ต่อไป ประการที่ 4 --
ประการที่ 4 -  ลูกลองพิจารณาถึงวัฏสงสาร กับพระนิพพาน ลูก

ถ้าหากว่า เราปล่อยให้จิตของเราอยู่ในวัฏสงสาร.. เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิด
-- เป็นไปตามกฎของวัฏสงสาร --

ซึ่งในที่แห่งนี้ ก็เป็นเพียงแค่ทะเลทุกข์เท่านั้น
เป็นที่ที่คุมขังดวงจิตทั้งหลาย.. ให้ตกเป็นทาส
แล้วทุกคนก็จะต้องแบกรับสิ่งที่ตนเองทำ  ด้วยอำนาจแห่งกิเลสตัณหา ให้ทำกรรมที่ไม่ดีอยู่ร่ำไป
-- จึงเกิดอยู่ร่ำไป

ในนี้ ก็เป็นที่ที่เป็นทุกข์
เป็นที่ที่ดวงจิตทั้งหลาย.. ต่างเร่าร้อน  และถูกคุมขังเอาไว้ในนี้
ส่วนที่ที่หลุดพ้น คือ พระนิพพานนั้น..
* เป็นที่ที่เป็นสุขอย่างแท้จริง  เป็นบรมสุข
* เป็นที่ที่หลุดพ้นแล้ว  จากอำนาจของทุกสิ่งทุกอย่าง
* เป็นที่ที่จิตทั้งหลาย..เป็นอิสระ
 -- อยู่เหนือความมี และไม่มีทั้งปวง
 -- ไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป
* เป็นที่ที่เป็นสุข และชุ่มเย็น

ลูกก็ลองเอาจิตของตน จุ่มลงไปในวัฏสงสาร  และรับสภาวะของวัฏสงสาร
และยกเอาจิตของตนนั้น -- ไปรับกระแสแห่งความหลุดพ้น ในแดนพระนิพพานดู 

แล้วลูกก็จะรู้ว่า สิ่งที่เคลือบจิตลูกแต่ละอย่างนั้น -- มันมีความแตกต่างกันมากเพียงใด  !
เราจะปล่อยให้จิตของเรา ถูกเคลือบด้วย
สภาวธรรมของ โลก
สภาวธรรมของ กาย
สภาวธรรมของ สิ่งภายนอก
สภาวธรรมแห่ง วัฏสงสาร

หรือว่า เรานี้ จะโยกจิตของเราเข้าสู่ทางธรรม
พิจารณาดิ่งลง ดูจิต  และลึกลงไปสู่สภาวะภายใน
ฝึกฝนจิต ให้ถึงซึ่งมรรคผลพระนิพพาน

เราจะเอาสภาวะแห่งความพ้นทุกข์ - ให้กับจิตของเรา
หรือว่า เราจะเอาสภาวะแห่งความวุ่นวาย  เร่าร้อนต่างๆเหล่านั้น.. ครอบงำ เคลือบจิตของเรา

เราก็สามารถ ที่จะเลือกได้.. ลูกเอ๋ย
เราเลือกได้ว่า เราจะอยู่ที่ตรงไหน   
เราจะปล่อยให้จิตของเราเป็นยังไง
เราจะให้จิตของเรา รุ่มร้อน เร่าร้อน... หรือเป็นยังไง
-- ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง นั่นแหละลูก

ฉะนั้น.. ลูกก็ลองพิจารณาเช่นนี้ดู  ก็แล้วกัน 

สิ่งที่ลูกได้เห็น ก็คือ ชั้นผิวของสภาวธรรม แต่ละอย่างที่เคลือบจิตเอาไว้อยู่  นั่นละลูก

เมื่อเรานี้ปล่อยให้จิตของเรา  ถูกสภาวธรรมของโลก ของกาย
ของสภาวธรรมภายนอก คือ สิ่งที่อยู่ในวัฏสงสาร  สิ่งต่างๆเหล่านี้เคลือบไว้อยู่
-- เราย่อมทุกข์อยู่…

ถ้าเราดิ่งลง ไปสู่ศูนย์กลางกาย  ทะลุไปสู่สถานที่ที่สงบแห่งจิต
เราย่อมเห็นกระแสสุข -- ตั้งแต่เข้าสู่ทางธรรม
เข้าสู่จิต  เข้าสู่สภาวะภายใน
และถึงพระนิพพาน

ลูกทั้งหลาย..  ความพิเศษของจิตทั้งหลาย  ก็คือ..
ลูกสามารถที่จะเลือกได้ว่า ลูกจะยืนอยู่ในจุดไหน

และถ้าหากว่า.. ลูกเลือกที่จะยืนอยู่ในจุดไหน - ไม่ว่าจะเป็น
ด้านบวก  หรือด้านลบ
ด้านดี  หรือด้านไม่ดี 
ด้านสุข  หรือด้านทุกข์.. ก็ตาม
-- ลูกย่อมจะได้รับ สภาวธรรมเหล่านั้น...

จิตทั้งหลาย.. ที่ปล่อยให้ตนนั้นจมอยู่กับทางโลก
 -- ก็ย่อมดำเนินไปตามสภาวะของทางโลก *

จิตทั้งหลาย.. ที่ปล่อยให้ตนนั้น จมอยู่กับเรื่องของกาย 
เรื่องของสภาวะภายนอก  และวัฏสงสาร
-- ตนก็ย่อมจมอยู่กับสภาวะเหล่านั้น  และดำเนินกันไป…

จิตทั้งหลาย..  ผู้ฝึกฝนตน ให้เข้าสู่กระแสแห่งธรรม
และกระแสแห่งจิต  กระแสภายใน  กระแสแห่งพระนิพพาน
-- จิตทั้งหลายเหล่านั้น.. ก็ย่อมเป็นสุข  และพ้นจากความทุกข์ได้..

ขึ้นอยู่กับลูกทั้งหลายละ.. ว่าลูกจะเลือกอยู่กับสภาวธรรมแบบไหน ?
ลูกก็เลือกได้ทั้งนั้นละ.. พระยาธรรมเอย

ฉะนั้น วันนี้  ลูกทั้งหลาย.. ก็เป็นบุคคล ผู้ที่เข้ามาสู่กระแสธรรมแล้ว
ก็จงฝึกฝนจิตของตน - ให้เข้าสู่กระแสภายใน  และกระแสแห่งพระนิพพาน เถิดนะ.. 
-- ลูกจะได้ ไม่เป็นทุกข์ --

+ +
พระยาธรรม ::  สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์  ที่ทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ ให้ลูกได้ฟัง พระพุทธเจ้าค่ะ

ลูกพอจะเข้าใจแล้ว  ว่า.. 
จิตของคนเรานั้น - ขับเคลื่อนได้  เลื่อนได้  ย้ายได้

ถ้าเราอยากเป็นทุกข์ -- เราก็
ปล่อยจิตของเรา - ไปสู่ทางโลก
ปล่อยจิตของเรา - ไปสู่สภาวธรรมแห่งกาย  สภาวะภายนอก - ไปสู่วัฏสงสาร

เราก็จะได้รับสภาวะเหล่านั้น.. เข้าสู่จิตของเรา 
และเราก็จะดำเนินอย่างนั้นไป..

ถ้าหากว่าเราไม่อยากเป็นทุกข์ -- เราก็เลื่อนสภาวจิตของเรา
เลื่อนดวงจิตของเรา - ไปรับสภาวะแห่งธรรม  หรือกระแสธรรม 
สภาวะของจิตภายในที่บริสุทธิ์จริงๆ
สภาวะภายในของจิต
และสภาวะความสงบแห่งจิตที่อยู่ภายใน
-- เลื่อนจิตของตน - เข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน  สภาวะแห่งพระนิพพาน **

เราสามารถที่จะเลือกได้  ว่าเราจะเอาจิตของเรา ไปจับคลื่นกระแสตัวไหน
ไปรับสิ่งใด มาเคลือบห่อหุ้มจิต
ไปรับความชุ่มเย็น -  หรือความทุกข์
-- ขึ้นอยู่กับตัวของเราทั้งนั้น  + +

เราทุกคน มีสิทธิ์ที่จะเลือก ที่จะเป็น และที่จะอยู่…

ลูกพอจะเข้าใจข้อธรรมวันนี้แล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ
สภาวธรรมของจิต และสิ่งที่เคลือบจิตนั้น ว่า มีอะไรบ้าง  ?

เราควรจะพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง ว่า
เรานี้..
จะต้องเห็นโลก กับธรรม ที่แตกต่าง
เห็นจิตกับกาย ที่แตกต่าง
เห็นสภาวะภายนอก และภายใน ที่แตกต่าง
เห็นสภาวะแห่งวัฏสงสาร  และพระนิพพาน ที่แตกต่าง

และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็คือ ด้านลบ - และด้านบวก
ด้านดี - กับด้านไม่ดี.. ที่เคลือบจิตของเราอยู่
-- เราเป็นผู้เลือกเองว่า..  เราจะดำเนินสู่ทิศทางไหน  **

... ลูกพอจะเข้าใจเช่นนี้แล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ

วันนี้ ลูกต้องกราบขอลาก่อน  ไว้ลูกจะมาเฝ้าฟังธรรมใหม่  พระพุทธเจ้าค่ะ...

สาธุ





นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version