ธรรมะกึ่งพุทธกาล > คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล
Rec-3555 พิษร้ายทำลายความดี
(1/1)
thanapanyo:
คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล วันที่ 9 เมษายน 2564
ตอนที่ 138 **พิษทำลายความดี**
+ +
ในเช้าของวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ สวนธรรมิกราช
เมื่อท่านพระยาธรรมิกราช ได้กราบนอบน้อมเข้าเฝ้าต่อองค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่าน เพื่อเฝ้าฟังธรรมแล้ว จึงได้นอบน้อมเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ท่านไป ดังนี้ว่า...
“ ข้าแต่องค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าขา..
วันนี้ ลูกปรารถนาจะขอเฝ้าทูลถามถึง ข้อธรรม บทที่ 137 น่ะเจ้าค่ะ
สิ่งใด หรือเจ้าคะ.. ที่เป็นพิษร้ายในการทำลายสิ่งที่เราทำ ?
เพราะรู้สึกว่า.. สิ่งที่เราทำนั้น แม้จะเป็นการทำความดี - แต่ก็ยังไม่เกิดผลที่ดี
... เช่นนี้ พระพุทธเจ้าค่ะ
ขอพระพุทธองค์โปรดทรงเมตตา แสดงธรรมให้ลูกได้ฟัง ทำความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าค่ะ ”
- - - -
เอาละ พระยาธรรมเอย.. ถ้าอย่างนั้น ลูกก็จงพิจารณาตามนี้ ให้เข้าใจตามนะ
พระยาธรรมเอย.. สิ่งเลวร้ายทั้งหลายในวัฏสงสารนี้
แท้ที่จริงแล้ว ก็มีเพียงแค่สิ่งเดียว
และสิ่งเลวร้ายเพียงแค่สิ่งเดียวเท่านั้น - ที่ทำให้สิ่งเลวร้ายทั้งหลายในโลกนี้ก่อเกิดขึ้น
มีอยู่ ตั้งอยู่ ดำเนินไปในวัฏสงสารนี้ ไม่รู้จบ ไม่รู้สิ้น
พระยาธรรมเอย.. และสิ่งนั้น ก็คือ กิเลสตัณหา
- เชื้อแห่งความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธ
- เชื้อแห่งความอยาก - ความไม่อยาก
พระยาธรรมเอย.. เชื้อเหล่านี้ละลูก คือ สิ่งที่เป็นพิษร้ายทำลายดวงจิตทั้งหลาย..
--ให้จมอยู่ ทุกข์อยู่ ในวัฏสงสารนี้ --
มีการเกิดขึ้นมา.. จึงมีการแก่ การเจ็บ และการตาย
มีการพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่พอใจทั้งหลาย
หากว่า.. ไม่มีการเกิด -- ก็ย่อมไม่มีการแก่ การเจ็บ และการตาย *
การพลัดพรากจาก.. ก็ย่อมไม่มี *
พระยาธรรมเอย.. ฉะนั้น เชื้อร้ายที่ทำลายดวงจิตทั้งหลาย..
ก็คือ เชื้อแห่งกิเลส เชื้อแห่งตัณหา.. นั่นละลูก
มันทำร้ายทำลายจิตทั้งหลาย.. ให้ต้องตกอยู่ใต้อำนาจของมัน
/ ทำตามอำนาจกิเลสตัณหา
/ ดำเนินไปตามกรรมที่ตนทำ
... แล้วก็ถูกอำนาจกิเลสตัณหา และกรรม ครอบงำให้ดำเนินไป ทำไป…
ฉะนั้น.. สิ่งที่เป็นพิษร้าย
ที่ทำลายดวงจิตทั้งหลาย ก็ดี
ที่ทำให้จิตทั้งหลาย ทำการสิ่งใดก็ตาม - ทำแล้ว ไม่เห็นผลที่ดี ไม่ก่อเกิดผลที่ดี
-- สิ่งเหล่านั้น คือ กิเลส และตัณหา --
ฉะนั้น.. สิ่งที่ลูกควรที่จะพิจารณา ให้รู้แจ้ง เข้าใจในสิ่งเหล่านี้ ว่า..
อะไร คือพิษร้าย ที่ทำลายดวงจิตทั้งหลาย
อะไร คือพิษร้าย ที่ทำให้จิตทั้งหลาย.. ต้องตกอยู่ใต้อำนาจของสิ่งเหล่านั้น
แม้ทำดี - ความดีก็ไม่บังเกิด ไม่เห็นผล
พิษร้ายนั้น ก็คือ เชื้อกิเลสตัณหา น่ะลูก
ฉะนั้น.. ลูกก็ควรมุ่งสู่สิ่งที่มันเป็นพิษร้าย เป็นประการแรก
ลูกควรที่จะ มุ่งตรงสู่กิเลสตัณหา
เชื้อตัวนี้ละลูก คือ เชื้อที่..
/ ทำให้จิตทั้งหลาย.. เจ็บป่วย
/ ทำให้จิตทั้งหลาย.. ทุกข์ทรมาน
/ ทำให้จิตทั้งหลาย.. หลงเกิด หลงตาย อยู่ในนี้
พระยาธรรมเอย.. ฉะนั้น การทำสิ่งใดก็ตาม..
ลูกจงมุ่งเน้น
การทำ ด้วยการละกิเลส ละตัณหา
ทำโดย ปราศจากกิเลส และตัณหา
ทำไป เพื่อการละกิเลสตัณหา
ลูกจงมุ่งตรงสู่จุดมุ่งหมายนี้.. พระยาธรรมเอย
และสิ่งที่ลูกทำ.. มันก็จะค่อยๆดีขึ้น พัฒนาขึ้น - ตามรอบตามเหตุของมัน ++
การกระทำใดก็ตาม ลูก -- ไม่ว่าจะทำดี หรือทำชั่ว ก็ตาม..
หากทำไปแล้ว.. ยังกิเลสตัณหา เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่
-- ย่อมเป็นเหตุแห่งทุกข์ --
เพราะพิษร้าย ยังคงแอบซ่อนตัว อยู่ในสิ่งที่เราทำ
และสุดท้าย.. เราก็ต้องเจ็บปวดอยู่ดี
เราทุกข์ - เราเจ็บปวดบ้าง
ผู้อื่นทุกข์ - ผู้อื่นเจ็บปวดบ้าง
กระทบเบียดเบียนตัวเราบ้าง / เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
... อยู่เช่นนั้น อย่างนั้นละลูก…
แต่ถ้าหากว่า ลูกนั้น.. ทำการสิ่งใด ก็ตาม..
// ทำไปด้วยความรู้ตื่น รู้แจ้ง
// ทำไปโดยปราศจากเชื้อแห่งความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธ
- ความอยาก และไม่อยากเหล่านี้
-- ลูกย่อมสามารถที่จะทำสิ่งนั้นออกมา ได้ดีอย่างสมบูรณ์ ++
และย่อมเป็นการกระทำ ที่จะไม่ให้ผล คือ มีโทษกลับมาหาตัวของลูก
ฉะนั้น พระยาธรรมเอย.. พิษร้ายที่ทำลายความดี
พิษร้ายที่ทำร้ายทำลายชีวิตทุกชีวิตในวัฏสงสาร ก็คือ กิเลสตัณหา ละลูก
ฉะนั้น.. เมื่อเราทำการสิ่งใดก็ตาม
-- เราจำเป็นที่จะต้องทำไป - โดยการปราศจากกิเลสตัณหา.. จึงจะได้ผล **
ถ้าทำไปด้วยกิเลสตัณหา -- ถึงแม้ว่าจะเกิดผลที่ดี กลับคืนมา
แต่ก็มีกิเลสตัณหา - กลับคืนมาครอบงำเราด้วย
พาให้เราจมอยู่ ทุกข์อยู่.. เช่นนั้น อย่างนั้น
พระยาธรรมเอย.. และการทำสิ่งใดไป - ทำด้วยกิเลสตัณหา และตัณหานั้น
ยังทำให้ลูกทั้งหลาย.. วนเกิด วนตาย หาที่สิ้นสุดไม่ได้ !
การทำสิ่งใดก็ตาม หากทำไปโดยปราศจาก กิเลสตัณหา
มุ่งตรงสู่จุดมุ่งหมาย คือ..
การทำเพื่อละกิเลส
ทำเพื่อดับตัณหา
-- ทำเพื่อชำระล้างสิ่งเหล่านี้.. ย่อมจะได้มาด้วยนิพพานสมบัติ
... ลูกย่อมจะถึงนิพพาน เป็นแน่แท้ ++
ฉะนั้น พระยาธรรมเอย.. ต่อจากนี้ไป ลูกทั้งหลาย จะทำอะไรก็ตาม
ลูกนั้น.. ควรทำโดยปราศจากกิเลสตัณหา
และผลการกระทำในสิ่งที่ลูกทำ -- ก็จะก่อเกิดให้ลูกทั้งหลาย ได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง ++
และจะมีอานิสงส์ คือ ส่งผลให้ลูกถึงซึ่งนิพพาน
ทำการสิ่งใด - จง
ทำไปด้วยการละกิเลส ละตัณหา
ทำไปด้วยการปราศจากกิเลส และตัณหา
มุ่งตรงสู่จุดมุ่งหมายอันนี้ -- ลูกก็จะยิงถูกตัว ดับถูกเหตุ
แล้วการกระทำของลูก.. ก็จะได้ผล จะเกิดประโยชน์
... เช่นนี้ละ พระยาธรรมเอย
นี่คือ ประการที่ 1 -- สิ่งที่ลูกทั้งหลาย.. ควรพิจารณาว่า..
จุดมุ่งหมายในสิ่งที่ทำ ควรมุ่งตรงสู่การทำด้วยการละกิเลสตัณหา
-- จึงจะเกิดผลที่ดี --
พระยาธรรมเอย.. ต่อไป ประการที่ 2 --
ลูกทั้งหลาย ควรที่จะฝึกฝนตน
ให้มีปัญญา รู้เท่า รู้ตาม รู้ทันความเป็นจริงของ
สิ่งที่เกิดขึ้น
สิ่งที่กระทบมา
สิ่งที่เป็นอยู่
คือ ลูกนั้น ควรจะรู้ในสิ่งที่ตนนั้นทำ ว่า..
คิด พูด ทำไป ด้วยการเจือปนไปด้วยกิเลสตัณหาหรือเปล่า ?
หรือว่า ทำไปตามเหตุตามปัจจัย ตามเหตุตามผลของสิ่งเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านั้น..
โดยปราศจากอำนาจ กิเลสตัณหา - เข้ามาข้องเกี่ยว
และรู้ตาม รู้ทัน สิ่งที่เรานั้นได้ทำ
เราทำอะไร- เรารู้
ผลอะไรเกิดขึ้นมา - เรารู้
-- และเรานี้ ก็รู้ที่จะดำเนินต่อไป.. สู่ทิศทางที่ดี ที่ถูกต้อง --
-- ตามเหตุตามปัจจัยนั้นๆ ที่เราควรจะทำ **
ลูกทั้งหลายเอ๋ย..
ควรฝึกปัญญา ให้รู้เท่าทัน
ควรฝึกให้ตนนั้น รู้ตื่นตาม
เข้าใจตามเหตุ เข้าใจตามผล - ของสิ่ง
ที่จะทำ
สิ่งที่ทำแล้ว / และสิ่งที่ส่งผลกลับมา.. อย่างรู้ตื่น
เมื่อลูกมีปัญญา - เป็นตัวเดินก่อน
เดินก่อนที่จะลูกจะทำสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย…
ลูกสามารถที่จะรู้- ในสิ่งที่ทำ
และในขณะที่ทำนั้น - ลูกก็รู้ถึงเหตุถึงผล
และไม่ทำในสิ่งที่เจือปนไปด้วย อำนาจกิเลสและตัณหานั้น
ลูกย่อมสามารถที่จะทำในสิ่งที่ดี - อย่างเกิดผลได้
และลูกก็จะสามารถเห็นผล - ที่ปรากฏชัดเจนแก่ลูกได้
คือ การพ้นจากความทุกข์อย่างแท้จริง
การทำดีแล้วไม่เกิดผล -- ย่อมไม่มีในตัวลูก อีกต่อไป..
และการทำเช่นนี้ คือ การทำไปพร้อมกับการมีปัญญา - เป็นตัวนำพาในสิ่งที่ทำทุกอย่าง
ย่อมจะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้ลูกได้มุ่งตรงสู่พระนิพพาน
รู้ตื่น ตามความเป็นจริง
ไม่หลงแวะไปในทางใดทางหนึ่ง
-- เพราะลูกนั้น.. สามารถที่จะรู้ทันในสิ่งต่างๆ ที่..
เกิดขึ้น- ตั้งอยู่ - และกำลังดำเนินต่อไป จนถึงสิ้นสุด
ลูกรู้และเข้าใจ มีปัญญารู้เท่ารู้ทัน อานิสงส์อันสูงสุดที่จะเกิดแก่ลูก
-- ย่อมต้องได้มาด้วย นิพพานเป็นสมบัติของลูก.. เป็นแน่แท้ ++
พระยาธรรมเอย.. ต่อไป ประการที่ 3 --
ให้ลูกฝึกมีสติตั้งมั่น
ลูกทำการสิ่งใดก็ตาม.. นอกจากมีปัญญาแล้ว - ต้องมีสติด้วยลูก **
มีสติตั้งมั่น ให้ลูกนั้น.. รู้ตามรู้ทัน
/ ในสิ่งที่เป็นอยู่
/ ในสิ่งที่ดำเนินอยู่
/ ในสิ่งที่ จะพูด จะคิด จะทำ
-- ให้มีสติด้วย ลูก --
เราจะทำอะไรก็ตาม - ต้องมีสติ
มีสติค่อยๆพิจารณา ค่อยๆทำไป
นอกจากมีปัญญาแล้ว.. ต้องมีสติ - ตามรู้ รู้เท่ารู้ทัน
ทำสิ่งใด.. ให้รู้ ให้มีสติว่า เรานี้..
/ กำลังทำสิ่งนี้ - ด้วยเหตุใดบ้าง ?
/ กำลังรับกระทบสิ่งนั้น - ด้วยเหตุใดบ้าง ?
/ กำลังจะดำเนินชีวิตของตน ไปสู่ทิศทางที่ดี - หรือทิศทางที่ไม่ดี ?
การกระทำความดีของตนในคราวครั้งนี้.. มีการเจือปนสิ่งที่ไม่ดี -- หรือว่าไม่
เราก็ต้องพิจารณาให้ดี..
มีสติ - เป็นตัวควบคุม ยับยั้ง..
-- ไม่ให้เรานี้ ทำในสิ่งที่ไม่ดี
-- ไม่ให้เรานี้ มีกิเลสตัณหา - เข้าไปเจือปนในสิ่งที่ทำ
-- ไม่ให้เราหลงในสิ่งที่มันส่งผลกลับมา - จากการทำความดีของเรา
จิตของลูก.. ย่อมจะตั้งมั่น อยู่ในความรู้ตื่น
ลูกย่อมสามารถ..ที่จะพ้นจาก การถูกหลอกให้หลง ให้ยึด
ให้เรานี้.. พัวพันมัวเมาไปกับสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย...
พระยาธรรมเอย.. กิเลสตัณหาตัวนี้ตัวเดียวเท่านั้นละลูก
คือ สิ่งที่ครอบงำดวงจิตทั้งหลาย.. ให้เวียนเกิดเวียนตาย / ให้จมอยู่กับทุกข์
** พิษร้ายที่ทำลายชีวิตทุกชีวิต ให้จมอยู่ในนี้ ก็คือ กิเลสตัณหา เท่านั้น ++
ฉะนั้น.. ไม่ว่า ลูกจะทำการสิ่งใดก็ตาม จงทำไปด้วยการรู้เท่า รู้ตาม
มีสติ มีปัญญา รู้ทันในสิ่งที่ทำ
คิด พูด ทำ สิ่งใด ก็ตาม..
จงอย่าให้กิเลสตัณหา - เข้าครอบงำ ลูก
-- แล้วสิ่งที่ลูกทำ.. ก็จะเกิดผลมากมาย ++
ต่อไป ประการที่ 4 --
ฝึกฝนตนเอง.. ลูกเอ๋ย
ฝึกฝนให้รู้จักคำว่า “สักแต่ว่า”
สักแต่ว่า ได้ยิน
สักแต่ว่า ได้เห็น
สักแต่ว่า รู้
สักแต่ว่า ดู
สักแต่ว่า สัมผัส
ลูกเอ๋ย.. สักแต่ว่า ดำเนินชีวิตไป
ดำเนินไปเช่นนั้น อย่างนั้น..
ไม่มีการเอาจิตของตนไปข้องเกี่ยวอะไร กับอะไรทั้งนั้นละลูก
มีเหตุมีปัจจัยอะไรให้ต้องทำอะไร - ก็ทำไป
ทำไปแล้ว.. ก็อย่าให้เจือปนด้วยกิเลส ด้วยตัณหา
ทำไป ให้รู้ว่า.. สักแต่ว่าทำ
ทำแล้ว.. อย่ายึด อย่าหลงว่า เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
ฝึกดำเนินชีวิต อยู่ในกรอบของ สักแต่ว่า นะลูก
... แล้วลูกนี้ ก็จะสามารถแยกจิตออกจากสิ่งสมมุติทั้งหลาย..
คือ กิเลสตัณหา
คือ กรรม การกระทำต่างๆทั้งหลาย
คือ สิ่งที่ส่งผลมาจากผลกรรม
สิ่งต่างๆทั้งหลายเหล่านั้น -- ลูกย่อมแยกตนเอง ออกจากเขาเหล่านั้นได้..
จิตของลูก.. ย่อมรู้ตื่น
อยู่เหนือกิเลส เหนือกรรม เหนือกาย
ลูกนั้น.. ย่อมเข้าใจดีว่า สิ่งที่ลูกนั้นควรที่จะดำเนินไปให้ถึง คือ ความรู้ตื่น.. ลูก
และถ้าหากว่า ลูกทำเช่นนี้..
ลูกก็จะสามารถ ที่จะมุ่งตรงสู่การดับกิเลส
ซึ่งอานิสงส์ของการดับกิเลส - จะได้มาด้วยนิพพานสมบัติ
และนิพพานสมบัติ - ย่อมจะก่อเกิดแก่ลูก เป็นแน่แท้ +
หากลูกทำการสิ่งใดก็ตาม.. มุ่งตรงต่อการทำเพื่อดับกิเลส
พระยาธรรมเอย.. ดวงจิตผู้พ้นจากโทษแล้ว..
คือ บุคคลผู้ที่อยู่เหนือกิเลส คือ ความหลง เท่านั้น !
พระยาธรรมเอย.. บุคคลทั้งหลาย ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้
แท้ที่จริงแล้ว.. ต่างก็กำลังแบกเอาก้อนกรรม ก้อนทุกข์ของตน
เหมือน..
บุคคล ผู้ถูกทำโทษอยู่เสมอ
บุคคล ผู้อยู่ใต้อำนาจของกิเลสตัณหา กรรมวิบาก
ก็คือบุคคล ผู้ชดใช้กรรม
บุคคล ผู้ถูกทำโทษ
บุคคล ผู้แบกโทษของตนเองอยู่เสมอ และตกเป็นทาสอยู่เสมอ..
บุคคล ผู้อยู่เหนือกิเลสตัณหา -- จึงเป็นบุคคลผู้เป็นอิสระ
และพ้นจากโทษที่ตนนั้น ต้องแบก ต้องทำ ต้องดำเนินไป
ฉะนั้น ลูกเอ๋ย.. การทำสิ่งใดก็ตาม.. จงทำไปด้วยมุ่งเน้นต่อการละกิเลสเถอะ
เมื่อลูกละกิเลส จนหมดแล้ว
ละตัณหา.. จนได้แล้ว
-- ลูกย่อมพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร --
การทำความดีของลูก - ย่อมได้ผล
แต่ถ้าหากว่าลูกทำความดี แล้วยังเจือปนด้วยกิเลสตัณหาอยู่..
ความดีของลูก - ก็จะได้มาด้วยของจอมปลอม
เวียนตายเวียนเกิด เวียนทุกข์อยู่ในวัฏสงสารนี้อยู่ดี..
เพราะลูกไม่ได้ฆ่าเชื้อแห่งความทุกข์
ลูกเพียงแค่.. ทำให้มันบรรเทาทุกข์ เพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง !
ฉะนั้น.. จงตั้งใจทำความดี เพื่อถอดถอนกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในตน
จะคิด จะพูด จะทำ ด้วยความดี ด้วยอะไรก็ตาม..
จงมีปัญญารู้เท่าทัน
มีสติรู้ตามในสิ่งที่ทำ
และจงฝึกฝน ทำไปสักแต่ว่า - ให้เกิดขึ้นกับลูก
ให้จิตของลูก - หลุดลอยอยู่เหนือสิ่งสมมุติทั้งหลาย ทั้งปวงในวัฏสงสารนี้เถอะ.. พระยาธรรม
ความดีของลูก จึงจะเกิดผลอย่างแท้จริง คือ ได้มาด้วยนิพพานสมบัติ
เช่นนี้ละ พระยาธรรมเอย.. ลูกพอจะเข้าใจบ้างแล้วหรือยังเล่า
จงกล่าวธรรมนั้นมาเถอะ.. พระยาธรรม
+ +
พระยาธรรม :: สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์ - ที่ทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง นะเจ้าคะ
ลูกพอจะเข้าใจแล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ ว่า..
ทำไม เราทำความดีแล้ว -- ความดีจึงไม่ค่อยเกิดผล
อะไรคือพิษร้าย ในการทำร้ายทำลายความดี
-- แท้ที่จริง ก็คือ กิเลสตัณหานั่นเอง !
ต่อให้เรา จะทำความดีไปมากขนาดไหน
-- แต่ถ้าเจือปนด้วยกิเลสตัณหาแล้วนั้น.. ย่อมได้ผลกลับมา คือ ความทุกข์
... เราจะไม่พ้นจากความทุกข์เลย ++
ฉะนั้น.. การกระทำของเรา ควรมุ่งตรงต่อการดับกิเลสตัณหา โดยตรง
แล้วผลที่เราทำจะเกิดผล - ได้มาด้วยนิพพานสมบัติ *
เราควรจะฝึกฝนปัญญา - ให้รู้เท่าทันบททดสอบ สิ่งกระทบทั้งหลาย..
ควรจะฝึกสติให้ตั้งมั่น ให้รู้ ให้ทัน
ให้ตามรู้ ตามเห็น ตามดู - อย่างมีสติ ในสิ่งที่เราจะดำเนินไป
รวมถึง ฝึกการอยู่ - สักแต่ว่าอยู่
การดำเนิน - สักแต่ว่าดำเนิน
การยกจิตของตน ให้อยู่เหนือทุกสรรพสิ่ง
ให้เป็นไป ดำเนินไป - เพียงสักแต่ว่า..
... ลูกพอจะเข้าใจเช่นนี้แล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์ ที่ทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง นะเจ้าคะ
วันนี้ ลูกต้องกราบขอลาก่อน ไว้ลูกจะมาเฝ้าฟังธรรมใหม่ พระพุทธเจ้าค่ะ...
สาธุ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
Go to full version