ธรรมะกึ่งพุทธกาล > คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล

Rec-3553 รู้คุณค่าของกาย

(1/1)

thanapanyo:




คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล   วันที่  8  เมษายน  2564
ตอนที่ 136  **รู้คุณค่าของกาย**
+ +   

ในเช้าของวันที่  7  เมษายน  พ.ศ. 2564     ณ สวนธรรมิกราช
เมื่อท่านพระยาธรรมิกราช ได้กราบนอบน้อมเข้าเฝ้าต่อองค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่าน เพื่อเฝ้าฟังธรรมแล้ว  จึงได้นอบน้อมเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ท่านไป ดังนี้ว่า...

“ ข้าแต่องค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าขา..
วันนี้ ลูกปรารถนาจะขอเฝ้าทูลถาม ถึงข้อธรรม บทที่ 135  น่ะเจ้าค่ะ

คือว่า ลูกรู้สึกว่า.. แท้ที่จริงแล้ว คุณค่าในกายของทุกกาย มันก็มีอยู่ 
เพียงแต่ว่า เราจะมองเห็นคุณค่าในสิ่งเหล่านั้นหรือเปล่า
... เช่นนี้ พระพุทธเจ้าค่ะ

ขอพระพุทธองค์โปรดทรงเมตตา  แสดงธรรมเรื่อง คุณค่าของกาย ของแต่ละคน
ให้ลูกได้ฟัง  และนำไปฝึกฝนประพฤติปฏิบัติ  พิจารณาตาม - ให้รู้ตาม เห็นตาม เข้าใจตาม
และนำไปเผยแผ่ให้ทุกคนได้รู้แจ้งตามด้วยเถิด พระพุทธเจ้าค่ะ ”
- - - -

ก็ดีแล้วละ พระยาธรรมเอย..  ถ้าอย่างนั้น ก็จงทำจิตใจให้สงบเสียก่อนนะ
และตั้งใจฟังให้ดี  ฟังให้เข้าใจ
เวลาน้อมไปปฏิบัติ - ก็จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
เวลาน้อมไปเผยแผ่ - ก็จะได้ถ่ายทอดความหมายของธรรมนี้ออกไปได้ อย่างถูกต้อง

บุคคลผู้ฟัง  และจะน้อมไปปฏิบัติตามธรรมเหล่านี้ - ก็จะได้ทำได้ถูกต้องด้วย.. เช่นเดียวกัน

พระยาธรรมเอย..  ชีวิตทุกชีวิต เมื่อดิ้นรนขวนขวายอยู่ในวัฏสงสารนี้
...ย่อมไม่มีค่า ไม่มีประโยชน์อะไร !
เพราะนั่นคือ การเวียนเกิดเวียนตาย อย่างเปล่าประโยชน์
มีแต่โทษ  ไม่มีผล.. ลูกเอ๋ย

แต่เมื่อใดก็ตาม ที่ชีวิตๆหนึ่ง  ลุกขึ้นมาว่า.. ตนนั้น จะต้องทำในสิ่งที่เป็นคุณงามความดี 
ทำในสิ่งที่ดี - เพื่อที่จะฉุดช่วยดวงจิตของตนให้พ้นทุกข์

และก็จะได้ฉุดช่วยดวงจิตอื่นๆ ให้พ้นทุกข์ด้วยนั้น
.. ย่อมเป็นชีวิตที่มีค่า **

เพราะชีวิตนั้น.. กำลังจะปลดหนี้ 
ปลดสิ่งที่ตนนั้นถูกคุมขัง หลอกลวง ครอบงำเอาไว้ในวัฏสงสารนี้ -- ออกจากตน

-- แล้วก็ช่วยบุคคลผู้อื่น ปลดปล่อยดวงจิตของผู้อื่น -- ด้วยการชี้ทางบอกทาง  ++

ฉะนั้น พระยาธรรมเอย..  การมีกายนี้ มีตัวมีตนนี้ ในแบบของการรู้ฝึกฝน รู้ปฏิบัติ
-- จึงเป็นชีวิต ที่มีค่า 
-- จึงเป็นชีวิตที่ถือว่า จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนมาก

โดยเฉพาะมนุษย์ทั้งหลาย.. ที่เกิดมาเพื่อบำเพ็ญบารมี 
สั่งสมคุณงามความดี - ด้วยบารมีทั้ง 10 ทัศ
สั่งสมไป  ทำความดีไป
อยู่ไป -- เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ ให้กับดวงจิตอื่นๆ  ++

แล้วก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการฉุดกัน ดึงกัน -- เพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์
*  ย่อมเป็นชีวิตที่ดี
*  ย่อมเป็นชีวิตที่ประเสริฐ

ลูกทั้งหลาย.. จงมีชีวิตอย่างประเสริฐ - ด้วยการรู้ค่าในกาย  รู้ค่าในการเกิด 
รู้ค่าในสิ่งที่มีนี้เถอะ.. พระยาธรรม 

ก็เช่นชีวิตตัวอย่าง สมัยเมื่อองค์พระพุทธเจ้ากำเนิดก่อเกิดขึ้น
ทรงตรัสรู้.. แล้วก็หาหนทางจนเจอ
คือ ถึงซึ่งนิพพาน  ดับการเกิดในภพสุดท้าย
-- ก็ได้สร้างประโยชน์ไว้มากมาย ไว้แก่ตน และดวงจิตทั้งหลาย
คือ
*  นำพาตนหลุดพ้น 
*  ชี้หนทางให้ผู้อื่น ได้หลุดพ้น 

และองค์พระอรหันต์ทั้งหลาย..  ก็เช่นเดียวกัน ++
ได้สร้างคุณค่าในกายของตน  ในตัวตนนี้ขึ้นมา 
ด้วยการฝึกฝนประพฤติปฏิบัติ
-- จนจิตทั้งหลายเหล่านั้น.. สามารถสร้างประโยชน์อันสูงสุดแก่ตน
คือ พาตนให้พ้นทุกข์ในกายนี้..

และยังฉุดช่วยดวงจิตอื่นๆ ให้พ้นทุกข์ตาม เป็นยุคๆ สืบทอดกันมา.. จนถึงยุคนี้ - กึ่งพุทธกาล
ก็มีกายนี้เกิดขึ้นมา  คือ..
กายของท่านแม่ชีกชพร ก็ดี
กายของหลวงพ่อพระอาจารย์ ก็ดี
-- ผู้ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ในกายหยาบ ในสายธรรมสัมมาสัมพุทธะ ปัจฉิมาสัมพุทธะนี้

ซึ่งกายทั้ง 2 กาย.. ก็ทำประโยชน์ ทำในสิ่งที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตน และผู้อื่น - ในกายนี้

ก็ถือว่า เป็นชีวิตตัวอย่าง เช่นเดียวกัน... 
เพราะเป็นตัวอย่างของการนำพาทุกคน สร้างและทำความดี
เป็นตัวอย่าง - ที่จะหาหนทางนำพาจิตทั้งหลาย..หลุดพ้น ++

ฉะนั้น ลูกทั้งหลายเอ๋ย..  เมื่อเรารู้ค่าในตัวของเรา 
สั่งสมความดีในตัวของเรา ให้บังเกิดขึ้น
แล้วเผยแผ่ความดีเหล่านั้น - เผื่อแผ่ไปให้กับดวงจิตอื่นด้วย..
-- ย่อมเป็นชีวิตที่มีค่า.. ลูกเอ๋ย *

และลูกทั้งหลาย ทุกๆคน.. ก็เช่นเดียวกัน 

เมื่อลูกทั้งหลายได้เข้ามาฟังธรรม ฝึกฝน
น้อมเอาธรรม เอาแนวทางการปฏิบัติ - ไปฝึกฝนในตนแล้ว
ชีวิตของลูกแต่ละคน..
//  ย่อมอยู่ อย่างทรงคุณค่า
//  ดำเนินไป ด้วยคุณค่า 
//  สิ้นสุดลง ด้วยคุณค่า

ฉะนั้น.. จงภาคภูมิใจ ในสิ่งที่ลูกทั้งหลาย.. ได้ทำในวันนี้เถอะ
คือ การได้สร้าง ได้ทำความดี

และจงตั้งใจดำเนินไปๆ ในกายนี้ อย่างสง่างาม..
ด้วยการใช้กาย ใช้ชีวิตนี้.. อย่างประเสริฐ
-- สร้างคุณงามความดี  ทำสิ่งที่ดีกันเถอะ.. ลูกทั้งหลายเอ๋ย

และกายทั้งหลาย.. ก็ยังคงมีคุณค่า  มีประโยชน์ในตัวของมัน.. พระยาธรรม
เช่น ตัวของลูกนั้น -- ลูกก็เป็นผู้ให้ธรรม ผู้นำธรรมทั้งหลาย.. ลงสู่โลก 

บุคคลผู้ใดก็ตาม.. ที่มีความเคารพต่อกายกายนี้ ต่อบุคคลผู้นี้ - อย่างรู้ตื่น
เคารพด้วยการนอบน้อมฟังธรรม 
-- แต่ไม่ใช่เคารพด้วยการลุ่มหลง  ยกย่องเชิดชูด้วยลาภสักการะต่างๆ -- ไม่ใช่แบบนั้น ลูก

หมายถึง เคารพกายกายนี้ว่า..  เป็นผู้สื่อธรรม นำธรรมลงมา
จึงเคารพนอบน้อม เพื่อที่จะเอาธรรมเหล่านั้น.. ไปประพฤติปฏิบัติตาม  ฝึกฝนตาม

เขาทั้งหลายเหล่านั้น..  ก็จะได้ประโยชน์จากธรรม ที่อยู่ในตัวของลูก 
ในธรรมคำสั่งสอน ที่น้อมลงมา
ถึงแม้ว่าจะใช้เสียงโดยกายนี้ก็ตาม..
-- แต่ก็เป็นธรรม ที่เป็นแก่นธรรมแท้จากองค์พระพุทธเจ้า **

บุคคลผู้รู้ค่าในกายนี้ - ย่อมเป็นผู้เห็นธรรม ว่า.. 
ธรรมในกายนี้.. เป็นธรรมที่ละเอียดประณีต
และสามารถเรียนรู้ ฝึกฝนตน จนพ้นทุกข์ได้ ++ 

แต่บุคคลใดก็ตาม เมื่อไม่เห็นค่าในกายนี้.. ย่อมจะไม่ได้รับธรรม ที่ลูกได้น้อมลงมา
เพราะเมื่อเขาไม่มีศรัทธา -- เขาจะเกิดการปรามาส
ต่อให้ลูกจะมีของดีแค่ไหน -- เขาก็จะไม่เห็นของดีเหล่านั้น…

ธรรมอันประเสริฐนั้น.. ถึงแม้จะเกิดขึ้นมากมายแล้ว ในกึ่งพุทธกาล 
... ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปทำประโยชน์ ให้บุคคลเหล่านั้นได้ ...

ฉะนั้น พระยาธรรมเอย..  กายของแต่ละคน ย่อมมีประโยชน์ - ในแบบของตนเอง *
และเมื่อเราเห็นประโยชน์จากกายผู้อื่น จากชีวิตของผู้อื่น จากตัวของบุคคลผู้อื่น..

เรานี้ น้อมเอาประโยชน์เหล่านั้น - เข้ามาสู่ตน 
และตั้งใจประพฤติปฏิบัติ  ฝึกฝนตามไปนั้น..
... ย่อมจะมีคุณค่า +

และแท้ที่จริงนั้น ลูกเอ๋ย.. ธรรมย่อมสอนอยู่ในกายทุกกาย 
ลูกเห็นกายผู้อื่น / ชีวิตในรูปแบบอื่นๆ

ถ้าลูกมีสติ มีปัญญามากพอ -- ลูกก็จะเห็นธรรมที่อยู่ในชีวิตของผู้อื่น *
ผู้อื่นสามารถสอนลูกได้ - จากการกระทำทั้งดี - ทั้งชั่ว
จากการดำรงชีวิตในแบบผู้อื่น
-- ก็สามารถทำให้ลูก รู้และเข้าใจลูก --

ธรรมจากผู้อื่น ย่อมเกิดในตัวลูก หากลูกให้เกียรติเขาทั้งหลายเหล่านั้น
-- ด้วยการ ไม่มองข้ามคุณค่า ของทุกสิ่งที่มี --

คนชั่ว - ก็จะได้ทำความเข้าใจถึง ความชั่ว
คนดี - ก็จะได้ทำความเข้าใจถึง ความดี
คนฉลาด -  เราก็จะได้เข้าใจถึง ความฉลาด
คนโง่เขลาเบาปัญญา - เราก็จะได้ทำความเข้าใจ ตามเหตุเหล่านั้นไป...

พระยาธรรมเอย..  ฉะนั้น ลูกทั้งหลาย.. จงพิจารณาให้รู้คุณค่า
ว่า ในกายของลูก ผู้ซึ่งสืบทอดธรรมลงไป
ก็เกิดประโยชน์ มีประโยชน์มากแก่จิตทั้งหลาย

ถ้าเขาทั้งหลาย.. ไม่สามารถมองเห็นคุณค่าในสิ่งตรงนี้ -- เขาก็เข้าไม่ถึงธรรมอันละเอียด

ลูกนั้น เห็นกายทั้งหลาย  ชีวิตทั้งหลาย..
-- ย่อมเกิดประโยชน์ และเห็นธรรมอยู่ในนั้น --

หากลูกไม่ให้คุณค่า คือ การพิจารณาให้เห็นธรรมเหล่านี้ - ในกายของผู้อื่น
ตามธรรมชาติเหล่านั้น..
-- ธรรมนั้นจะไม่แตกฉาน  เกิดขึ้นในตัวของลูก.. เพราะทุกชีวิต คือ ธรรมชาติ *

ลูกคือ ผู้ชี้ทางชีวิตของผู้อื่น
คือ ผู้ดำเนินไปตามธรรมชาติ  ตามกฎแห่งกรรม  ตามกฎไตรลักษณ์
ดำเนินไปตามเหตุตามผล ของชีวิตทุกชีวิต

ฉะนั้น  พระยาธรรมเอย..  และลูกทุกคน ก็ควรที่จะเปิดจิตเปิดใจ
เพื่อที่จะมองเห็นกันและกัน - ในรูปแบบชีวิตต่างๆ  ด้วยการเห็นธรรมชาติ อยู่ในชีวิต
เห็นชีวิตดำเนินไปตามเหตุ  ตามกฎแห่งกรรม  กฎแห่งวัฏสงสาร.. อย่างรู้แจ้ง  รู้ตื่น

แล้วลูกทั้งหลาย.. ก็จะสามารถ ทำกายของตนให้ทรงคุณค่า ชีวิตมีค่า
เห็นชีวิตผู้อื่น มีค่าในตัวเรา
แม้ดี -ไม่ดี.. ก็มีค่า มีประโยชน์

แต่ค่า และประโยชน์เหล่านั้น -- ก็ไม่ใช่เห็นด้วยการยึดติด ยึดมั่นถือมั่น ลูก
แต่เห็นด้วยการ
ให้เกิดประโยชน์แก่จิตของเรา
ให้จิตของเรา เรียนรู้ เข้าใจ  และรู้ตื่น
ให้คุณค่า  เห็นคุณค่า
เห็นประโยชน์ - ทั้งโทษ
ทั้งสิ่งที่ดี - และไม่ดี

รู้แจ้ง เข้าใจ เช่นนี้อย่างนี้ -- แต่ไม่ได้ไปยึดติดกับใครนะลูก !
แค่เห็นคุณค่า เพื่อน้อมเอาสิ่งที่เกิดประโยชน์ กลับเข้าสู่จิตของตนได้  เท่านั้นละ.. พระยาธรรม ++
และนำพาตน ให้พ้นทุกข์ เท่านั้น  ++

ฉะนั้น ประการที่ 1 -- กายทุกกาย ย่อมมีธรรมอยู่ในนั้น
กายของลูก คือ ผู้สืบทอดธรรม  +
กายของผู้อื่น - สอนธรรมชาติแก่ลูก  +

บุคคลทั้งหลาย.. ย่อมเห็นค่าในชีวิตของตน 
เห็นคุณค่าในตัวของแต่ละคน - ที่ทำหน้าที่
และเห็นค่า ในกายใดกายหนึ่ง
-- ย่อมได้ประโยชน์จากกายนั้น เป็นแน่แท้  ++

ฉะนั้น ให้ลูกทั้งหลาย.. จงเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ด้วยการเห็นธรรม - ในกันและกัน
และจะได้อาศัยกายทั้งหลายเหล่านั้น.. ในการช่วยผลักช่วยดัน
ช่วยค้ำช่วยหนุน ให้ลูกทั้งหลาย..  ถึงนิพพานเถิดนะ

ต่อไป ประการที่ 2 -- เป็นผู้เจียระไน.. ลูกเอ๋ย

ลูกนั้นก่อเกิดมา - เพื่อเป็นผู้เจียระไน 
ช่วยเจียระไน ขัดเกลาดวงจิตทั้งหลาย..
--ให้ดวงจิตทั้งหลายเหล่านั้น.. ได้รู้แจ้ง เข้าใจตามความเป็นจริง ถึงสิ่งที่มี
สิ่งที่ติดขัดอยู่ 
สิ่งที่ต้องดำเนินไป 
-- ชี้ทางบอกทาง..

ลูกนั้น.. เป็นผู้เจียระไน 
ใครเข้าใจ ในเหตุในปัจจัยของการเจียระไนของลูกนั้น
-- เขาก็จะไม่โกรธไม่เคือง --
เขาจะรู้ และเข้าใจ  และปรับตนเอง ประพฤติปฏิบัติตาม..
เขาจะสามารถ เข้าถึงความสุข ความเจริญอันมากในธรรม

พระยาธรรมเอย..  และกาย และบุคคลผู้อื่น ก็เป็นเครื่องเจียระไนลูกด้วย เช่นเดียวกัน
เขาดี - ก็เจียระไน
เขาไม่ดี - ก็เจียระไน
สอนง่าย - ก็เจียระไน
สอนยาก - ก็เจียระไน
เจียระไนไปทางที่ดี ขัดเกลาสิ่งที่ไม่ดีออก

และในความเป็นจริงแล้ว.. ทุกคน ก็สามารถเป็นเครื่องเจียระไน ให้แก่กันและกันได้
คนนั้น- กระทบทดสอบเราบ้าง  เจียระไนเราบ้าง
คนนี้- ทำไม่ถูกใจ  กระทบทดสอบเราบ้าง  เจียระไนเราบ้าง
คนนั้น- ได้เป็นตัวอย่าง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สอนให้เราฉลาดขึ้นบ้าง...

ขอเพียงแค่ให้เรามีสติ มีปัญญา  รู้คุณค่าในชีวิตตน  เห็นคุณค่าในชีวิตผู้อื่น
ลูกทั้งหลาย.. ก็จะสามารถ เป็นบุคคลผู้รู้เท่ารู้ทัน
-- รู้สถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น - เป็นเพียงเรื่องของการเจียระไน ++

** กายทั้งหลาย ชีวิตทั้งหลาย.. จึงเป็นเครื่องเจียระไนให้แก่กันและกัน **

ถ้าเราทนต่อการเจียระไนได้.. 
รู้และเข้าใจผ่านบททดสอบ เครื่องเจียระไนเหล่านั้นได้..
-- เราย่อมเป็นผู้พ้นทุกข์ได้ --

ลูกทั้งหลาย.. นิพพานย่อมถึงเป็นแน่แท้  ขอเพียงแค่เราเข้าใจอย่างนี้ ++

ต่อไป ประการที่ 3 --
ลูกนั้น ประกาศธรรม ก็ดี 
ทำทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ดี 
--ก็เพื่อให้ประโยชน์ของแต่ละคนก่อเกิดขึ้น --

ประโยชน์ที่ลูกได้สูงสุด ก็คือ  พ้นทุกข์ กลับคืนสู่นิพพาน

ประโยชน์ของจิตทั้งหลาย ที่เขาจะได้รับ ก็คือ..
/  การได้ฟังธรรม
/  ได้รับการเจียระไน ขัดเกลาจากลูก
/   แล้วก็พ้นทุกข์ตามกันมา

ประโยชน์ของแต่ละคน ก็คือ ตนได้พ้นทุกข์ นั่นละลูก

ฉะนั้น ให้ลูกทั้งหลาย ได้รู้ว่า ..
การที่เรานี้ น้อมฟังธรรม เข้าใจธรรม
เคารพต่อผู้อื่น
เห็นชีวิตผู้อื่น - ให้เห็นธรรม
นอบน้อมต่อการถูกเจียระไน ในธรรมชาติของกายแต่ละกาย ในแบบของแต่ละแบบ
-- เราก็จะสามารถ ที่จะได้รับประโยชน์อันสูงสุด -++
และประโยชน์ที่แท้จริง ก็เกิดแก่เราเท่านั้น 
คือ การสามารถที่จะทำให้ตนพ้นทุกข์ **

และในที่สุด.. ประโยชน์ก็เกิดแก่ตน  และเกิดแก่บุคคล ผู้เข้าใจตาม รู้ตาม เห็นตาม..
-- ประโยชน์อันสูงสุด คือ การพ้นทุกข์เท่านั้น **

ลูกทั้งหลายเอ๋ย..  และประโยชน์เหล่านั้น.. ก็เกิดแก่ลูกผู้ปฏิบัติตาม นั่นละ.. พระยาธรรม

ฉะนั้น.. การถูกเจียระไน กระทบทดสอบต่างๆ -- ก็เพื่อประโยชน์แห่งตนทั้งนั้น

เราจะเจอกับอะไรก็ตาม 
เจอกับสิ่งกระทบใดก็ตาม
เจอกับรูปแบบชีวิต เรื่องราวอะไรก็ตาม..
... สิ่งเหล่านั้น.. ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้น -- เพื่อประโยชน์แก่ตนทั้งนั้น ++

ถ้าจิตของเรานี้.. รู้เท่ารู้ทัน  รู้ตามความเป็นจริง
เราจะเห็นความจริงๆ

และเรา ก็จะไม่เพ่งโทษใคร
เราจะไม่ยึดถือตัวตนของเรา..ว่าถูก  เขาผิด
ไม่ยึดอะไรให้เป็นอะไรทั้งหมด.. 

เราเพียงแต่จะดูว่า..
สิ่งนี้ - กำลังทดสอบอะไรอยู่
สิ่งนี้- กำลังเจียระไนอะไรอยู่
สิ่งนี้ - กำลังสอนอะไรอยู่

และลูกก็จะสามารถ อาศัยกายทั้งหลาย.. ในการสอนธรรมก็ดี / ในการเจียระไนก็ดี
ทำประโยชน์อันสูงสุด  เกิดขึ้นแก่ตัวของลูก

ด้วยการที่ลูกทั้งหลายนั้น.. ยอมที่จะให้เครื่องเจียระไน ก็ดี
ธรรมทั้งหลาย ก็ดี.. เข้ามาสู่จิตใจของลูก
-- เพื่อชำระดวงจิตของลูก ให้สะอาด บริสุทธิ์ - ถึงซึ่งความหลุดพ้น **
... เช่นนี้ละ พระยาธรรมเอย.. 

ต่อไป ประการที่ 4 --
ลูกนั้น.. เป็นผู้นำพา ให้ดวงจิตทั้งหลาย.. ได้พ้นทุกข์

ฉะนั้น..  เมื่อลูกนั้น เป็นผู้นำพาให้ดวงจิตทั้งหลาย ได้เข้าถึงความหลุดพ้น - ความพ้นทุกข์แล้ว..
ลูกนั้น ก็จะเป็นบุคคลผู้ที่สามารถที่จะฝึกฝน นำพาจิตทั้งหลายได้ - ด้วยกายนี้
คือ ให้กายนี้นำพาจิตทั้งหลาย.. ให้เข้าถึงซึ่งความรู้ตื่น *

และจิตทุกดวง.. เมื่อรู้ค่าในกายนี้
สามารถที่จะฟังธรรม น้อมธรรมไปปฏิบัติ
ทำชีวิตนี้ ให้เกิดประโยชน์แก่ตน คือ พ้นทุกข์ในตนแล้ว...
-- ก็ย่อมสามารถที่จะพาให้ดวงจิตอื่นๆ.. ได้พ้นทุกข์ตามด้วยละ.. พระยาธรรมเอย ++

ฉะนั้น  ให้ลูกจงตั้งใจ ที่จะ..
พิจารณาถึง คุณค่าในชีวิตของตน
พิจารณาถึง คุณค่าในการดำรงชีวิตอยู่

และพิจารณาถึง คุณค่าของชีวิตผู้อื่น
-- ที่ให้ประโยชน์ สอนแก่เราทุกอย่าง ให้รู้จักกับธรรมชาติ 
และช่วยเป็นเหตุ เจียระไนจิตของเรา
แล้วช่วยให้เรานี้ สามารถที่จะได้ประโยชน์อันสูงสุด
-- และตน ก็จะเป็นผู้นำพาผู้อื่น.. ให้หลุดพ้น ++

ลูกทั้งหลาย.. ก็จงเห็นคุณค่า ในกายของท่านพระยาธรรม ก็ดี 
ครูบาอาจารย์ในสายธรรมนี้ ก็ดี

เห็นคุณค่า  เห็นธรรมที่เกิดในกายเหล่านี้ 
นอบน้อมต่อธรรมเหล่านั้น  น้อมไปปฏิบัติตาม - ให้เห็นตาม

ลูกนั้น.. ก็จงเห็นการเจียระไนจากกายนี้ - ซึ่งเป็นกายของครูบาอาจารย์
ซึ่งก็จะเป็น กายที่จะช่วยให้ลูกทั้งหลายนั้น.. ได้รับการเจียระไน ขัดเกลาเจียระไน
ทั้งนี้.. ก็เพื่อประโยชน์อันสูงสุด เกิดแก่ลูกทั้งหลาย..

เมื่อประโยชน์อันสูงสุด - เกิดแก่ลูกทั้งหลายแล้ว..
ลูกก็จะได้เป็นตัวแทน ผู้นำพาผู้อื่นให้พ้นทุกข์ตาม - ในรูปแบบของตนด้วย เช่นเดียวกัน

ฉะนั้น พระยาธรรมเอย..  วันนี้ ให้ลูกทั้งหลาย  ลองพิจารณาถึงประโยชน์ในกาย เช่นนี้กันเถอะ
แล้วลูกก็จะสามารถที่จะทำประโยชน์อันสูงสุด -- ให้เกิดขึ้นในกายของตน / ในกายของผู้อื่น...

การเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้.. จะได้เป็นการเกิดที่มีคุณค่า
ชีวิต.. ก็จะได้เป็นชีวิตที่มีคุณค่า
กายทั้งหลาย.. ก็จะได้เป็นกายที่ทรงคุณค่า
และลูกทั้งหลาย.. ก็จะสามารถที่จะเข้าถึงความพ้นทุกข์ได้ - ด้วยกายเหล่านี้

เช่นนี้ละ พระยาธรรมเอย..  ลูกพอจะเข้าใจบ้างแล้วหรือยังเล่า
จงกล่าวธรรมเหล่านั้นมาเถอะ.. พระยาธรรมเอย

 + +
พระยาธรรม ::  สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ
ลูกพอจะเข้าใจแล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ ว่า..

กายทุกกาย -- ย่อมมีค่าอยู่ในตัวของมัน
เพราะกายเหล่านั้น ดำเนินไปเพื่อความหลุดพ้น -- ย่อมจะสร้างประโยชน์ของตนได้ +

กายของลูกมีประโยชน์  คือ การให้ธรรมแก่ผู้อื่น
เมื่อผู้อื่น เห็นประโยชน์ในกายของลูก - ด้วยการน้อมฟังธรรม   
... ย่อมได้ประโยชน์  ++

กายทุกกาย มีประโยชน์ ในการสอนให้ลูกได้เข้าใจในธรรมชาติ - สิ่งที่เป็นไป
ลูกจะได้เข้าใจ  และแตกฉานในธรรม 
นำพาตนให้พ้นทุกข์ 
และช่วยเหลือเขาเหล่านั้น ให้พ้นทุกข์ด้วย

กายทุกกาย  // บุคคลทุกคน.. เป็นเครื่องเจียระไนของกันและกัน

ลูกเจียระไนให้ดวงจิตอื่น ให้ดวงจิตอื่น ได้เห็นจุดบกพร่อง
แล้วสภาวธรรมของดวงจิตอื่นๆ - ก็เป็นเครื่องเจียระไน - ให้ลูกได้ดีขึ้น
เห็นจุดบกพร่องของตนเองด้วย เช่นเดียวกัน...

ฉะนั้น.. ให้ทุกคน เห็นตามความเป็นจริง ของการเจียระไนซึ่งกันและกัน - ในกายแต่ละกาย
เพื่อที่จะเข้าสู่ การก่อเกิดประโยชน์อันสูงสุด ให้แก่ตน
คือ ตนนั้นได้ประโยชน์อันสูงสุดด้วยตนเอง - ด้วยความพ้นทุกข์
และลูกทั้งหลาย.. ก็จะเป็นผู้ที่ สามารถนำพาดวงจิตทั้งหลาย.. ให้พ้นทุกข์ได้

... ลูกพอจะเข้าใจเช่นนี้ อย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ

กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์  ที่ทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง นะเจ้าคะ
ลูกจะน้อมไปประพฤติปฏิบัติตาม  และเผยแผ่

วันนี้ ลูกต้องกราบขอลาก่อนนะเจ้าคะ  ไว้ลูกจะมาเฝ้าฟังธรรมใหม่  พระพุทธเจ้าค่ะ...

สาธุ





นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version