ธรรมะกึ่งพุทธกาล > คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล

Rec-3551 ดับการกิน

(1/1)

thanapanyo:


คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล   วันที่  7  เมษายน  2564
ตอนที่ 134  **ดับการกิน**
+ +   

ในเช้าของวันที่  5  เมษายน  พ.ศ. 2564     ณ สวนธรรมิกราช
เมื่อท่านพระยาธรรมิกราช ได้กราบนอบน้อมเข้าเฝ้าต่อองค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่าน เพื่อเฝ้าฟังธรรมแล้ว  จึงได้นอบน้อมเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ท่านไป ดังนี้ว่า...

“ ข้าแต่องค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าขา..
วันนี้ ลูกจะขอเฝ้าทูลถามถึง ข้อธรรม บทที่ 133 น่ะเจ้าค่ะ

เมื่อการกิน คือหัวใจแห่งการเกิด ในประการที่ 3..
ลูกจึงปรารถนาจะเฝ้าขอฟังธรรมจากพระพุทธองค์  ถึงเรื่องของการละการกิน พระพุทธเจ้าค่ะ

ขอพระพุทธองค์โปรดทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง  เพื่อได้พิจารณาถึงการละการกินด้วยเถิด พระพุทธเจ้าค่ะ ”
- - - -

เอาละนะ พระยาธรรมเอย..  ถ้าอย่างนั้น ก็จงตั้งใจฟังให้ดีนะ
ฟังแล้ว ค่อยๆพิจารณาตาม ให้เข้าใจ..

และทุกดวงจิตก็เช่นเดียวกัน  เมื่อต่างก็ได้มาน้อมฟังธรรม.. 
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะของกายหยาบ ก็ดี / ของโลกทิพย์ในภูมิต่างๆ ก็ดี
ที่ไม่ใช่ขึ้นมาเข้าเฝ้า เหมือนท่านพระยาธรรมนี้ ก็ตาม

แต่ธรรมที่พระยาธรรม น้อมลงมา -- เสียงธรรมนั้น ก็แสดงกึกก้องทั่วจักรวาลอยู่แล้ว..

จิตของลูกทั้งหลาย..  เมื่อได้เฝ้าฟังธรรมนี้แล้ว  ก็จงตั้งใจฟังกันนะ.. พระยาธรรมเอย

ให้ทุกคนปรับจิตปรับใจของตน ให้เป็นกลาง
วางจิตให้ว่าง  ผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจ
ให้ฟัง สักแต่ว่าฟัง
... แล้วก็ให้จิตของตนนั้น - แค่ให้สงบ.. 

ให้ตนนั้นหาความเป็นกลางในตน ให้เจอ 
ไม่ต้องเอาความคิด ความเห็นอะไร ไปตัดสิน หรือปรุงแต่งอะไร
-- ทำจิตให้ว่าง --

คนเรา.. เมื่อวางจิตให้ว่าง  ปล่อยใจให้เป็นกลาง
-- เราก็ย่อมสามารถ ที่จะยืนอยู่บนทางสายกลาง  ++

ธรรมก็ดี / สิ่งใดก็ตาม..  เราวางใจเป็นกลางๆแล้ว
-- เราย่อมสามารถเห็น สิ่งที่ขับเคลื่อนภายนอกนั้น ได้ตามความเป็นจริง ++

ลูกทั้งหลายเอ๋ย..  ฉะนั้น ลูกทั้งหลาย.. ไม่ว่าจะเป็นดวงจิตในภพภูมิใดก็ตามนะ 
จงตั้งใจฟัง  และพิจารณาธรรมดังต่อไปนี้เถอะ..

พระยาธรรมเอ๋ย..  เรื่องกินนั้น คือ สาเหตุหลักอีกสาเหตุ
คือ หัวใจอีกห้องหนึ่ง ของการเกิดในวัฏสงสาร 

เพื่อการอยู่ การกิน -- ดวงจิตทั้งหลาย  จึงต้องแสวงหา  ++
เมื่อแสวงหาแล้ว.. ไม่รู้ตามความเป็นจริง
-- ก็เลยพากันทำอะไรก็ได้ .. ขอให้ได้มา เพื่อกินเพื่ออยู่  เพื่อปากเพื่อท้อง
แล้วก็เลยเผลอไปสร้างกรรมที่ไม่ดีบ้าง..
แล้วดิ้นรนแสวงหา จนเกิดความทุกข์ขึ้นมาในตนบ้าง..

-- ความทุกข์ยากลำบากของดวงจิตทั้งหลาย.. ก็คือ การแสวงหาเครื่องกินเครื่องอยู่ ของกินอยู่ นั่นละลูก --

ฉะนั้น ลูกทั้งหลาย..  หากว่าลูกทุกคน - ตั้งใจที่จะดับความลุ่มหลง ในการกิน
หรือการกินที่ผิด - ที่ทำให้ลูกทั้งหลาย.. จมอยู่ใต้อำนาจของมัน
สร้างเวรสร้างกรรม  ดิ้นรนขวนขวายแสวงหา
... จนลูกนั้น ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ ++

ลูกจงพิจารณาธรรม ดังต่อไปนี้เถอะนะ.. พระยาธรรม

ประการที่ 1 นั้น -- ให้ลูกทั้งหลาย.. จงพิจารณาถึงโทษของการกิน

คนเรา ถ้าให้ความสำคัญกับการกินมาก.. ก็จะทุกข์ยากลำบาก  ลูกเอ๋ย
กิน  ด้วยความลุ่มหลง 
กิน  เพื่อที่จะยกตนเอง ให้เป็นคนระดับที่สูง  ระดับที่ดี  กินอย่างผู้มีเกียรติ
กิน  ตามอำนาจแห่งกิเลสตัณหา 
-- อยากกินอันนั้น อยากกินอันนี้.. ก็เลยทำให้ต้องแสวงหา ต้องดิ้นรนกันไป ++

ลูกทั้งหลายเอ๋ย..  ฉะนั้น การกินนั้น - จึงเป็นเหตุแห่งทุกข์
เพราะเรากินอย่างผู้มีเกียรติ
 
พยายามแสวงหา  เพื่อให้เรานี้ ได้มาด้วยการกินการอยู่ ที่สุขสบาย
ประดับเข้ากับการยกย่องตนว่า.. เป็นผู้มีเกียรติแล้ว
... จึงได้กินละเอียดประณีตเช่นนั้น ดีเช่นนี้ ราคาแพงเท่านั้น แพงเท่านี้
-- เพื่อเชิดชูเกียรติ ก็เลยต้องหากินหาอยู่อย่างลำบาก  !!

และวันๆ หนึ่ง.. ก็ต้องกินถึงวันละ 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
3 มื้อ - เป็นอย่างน้อยในการดำรงชีวิต
 -- และกินเท่าไหร่ มันก็หายไปๆ !

เกิดมา.. ก็ร้องกินแล้ว 
กินจนสิ้นใจตาย - จึงจะจบการกิน

ฉะนั้น ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. 
เรื่องกิน - เป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา
เรื่องกินนั้น - เป็นเรื่องที่ทุกคน ต้องเหน็ดเหนื่อย  ต้องทำ -- เพื่อที่จะได้มา เพื่อการกิน


ฉะนั้น..  เพียงเพื่อแค่ปรารถนาที่จะกิน
... ก็ย่อมอาจเป็นเหตุ ทำให้เราสร้างเวรสร้างกรรม
คดโกงผู้อื่น - เพื่อได้เงินทองมากมาย มาซื้อกิน
มาอยู่อย่างผู้สุขสบาย  ผู้ที่คิดว่า.. ตนมีเกียรติแล้ว

ลูกทั้งหลายเอ๋ย..  ถ้าอยากกิน ก็จะต้องถึงขั้นที่จะต้องฆ่าผู้อื่นเพื่อได้มากิน
ฆ่าหมู ฆ่าไก่..
ต้องไปเบียดเบียนชีวิตอื่น เพื่อได้มากิน
... เช่นนี้ อย่างนี้ เป็นต้น

ฉะนั้น.. การสร้างเวรสร้างกรรมจากการกิน
-- ก็ยังส่งผลมา ทำให้ตัวของเรานี้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร  หาที่สิ้นสุดไม่เจอ ไม่ได้  !

เพราะมัวแต่แสวงหา ดิ้นรนเพื่อที่จะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้นมาประดับการกิน
มาประดับการกิน - กินอย่างผู้มีเกียรติ กินอย่างผู้หลงไป
หลงไปในการกิน 
หลงนึกยึดว่า ของดี ของอร่อย ของละเอียดประณีตนั้น.. เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
จึงพากันแสวงหา  หากิน หาอยู่
เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จนทุกข์ทรมานกันอยู่เช่นนี้

พระยาธรรมเอ๋ย..  โทษของการกิน ทำให้เราต้องเบียดเบียนผู้อื่น
ทำให้เราต้องแสวงหา เหน็ดเหนื่อย ทุกข์ยากลำบาก
ทำให้เราก่อกรรมได้  และต้องเวียนว่ายต่อไป
ทำให้เราตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความอยาก ความหลง ความยึด  / แห่งการแบกรับภาระหน้าที่อันหนักหน่วง

ฉะนั้น พระยาธรรมเอ๋ย..  โทษแห่งการกินนั้น - จึงทำให้เราต้องเกิดอยู่ร่ำไป **

พระยาธรรมเอย..  หากว่า..
ลูกทั้งหลาย  ปรารถนาที่จะดับการกิน
ลูกทั้งหลาย  ปรารถนาที่จะดับหัวใจห้องที่ 3 ของเหตุแห่งการเกิดในวัฏสงสารนี้
-- ลูกจึงควรพิจารณา ให้เห็นโทษแห่งการกิน.. เช่นนี้ละลูก

ต่อไป ประการที่ 2 --
เมื่อลูกเห็นโทษแห่งการกินแล้ว -- ลูกก็ควรที่จะเรียนรู้  รู้จักกับการกินที่ถูกต้อง

การกินที่ถูกต้อง ก็คือ กินไปตามเหตุ ตามปัจจัยที่มี *
มีของละเอียดประณีต - ก็กินไป
มีของกินแบบไหน - ก็กินไป
กินไป เพียงเพื่อให้เลี้ยงร่างกายนี้ ให้ดำเนินธาตุขันธ์อยู่ได้
กิน อย่างผู้ไม่มีตัณหาเป็นสิ่งครอบงำ ให้ต้องกิน ต้องเป็นเช่นนั้น

กินอยู่ - ไม่ได้กินไปเพื่อประกอบให้มีเกียรติ  มีศักดิ์ศรี 
เป็นคนที่มีลาภยศ  ที่มีตำแหน่งใหญ่โตเช่นนั้น 
ไม่ได้กินเพื่อประดับเกียรติ

กินไป - ไม่ได้สนองกิเลสกาม กิเลสตัณหาต่างๆ
ลุ่มหลง หลงใหล ในของละเอียดประณีต คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่างๆ

ไม่ได้กินเพื่อสิ่งเหล่านี้.. 
แต่กินไป เพียงเพื่อดำเนินธาตุขันธ์ 
ให้ธาตุขันธ์นี้ ดำเนินอยู่อยู่ได้ -- เพื่อการสร้างประโยชน์ เท่านั้น  ++

กินแต่เพียงพอดี พอประมาณ - ไม่มากเกินไป
เช่น นักบวชอย่างลูกทั้งหลาย.. ก็กินเพียงแค่ 2 มื้อเท่านั้น
-- จึงไม่ต้องหากินหาอยู่ ถึง 3 มื้อ  ให้มันลำบากยุ่งยาก !

ลูกทั้งหลายนั้น.. ก็กินอย่างผู้ไม่มีเกียรติ  ไม่มีความอยากอะไรเข้ามาเจือปน
ดำเนินไป มีอะไรกิน- ก็กิน สักแต่ว่าเป็นธาตุ เท่านั้น
กินไป  เพียงแค่หล่อเลี้ยงร่างกายตามเหตุ เท่านั้น
/  ไม่ได้กินอย่างผู้มีเกียรติ
/  ไม่ได้กิน เพื่อสนองกิเลส สนองตัณหา

ลูกทั้งหลายเอ๋ย..  ฉะนั้น การกินอย่างนักบวช - ผู้ที่เข้าถึง การปล่อยวางในเรื่องของกิเลสตัณหา
คือ ความหลงในการกิน  ความอยากในการกิน
/  กินเพื่อสนองลาภ สนองยศ
/  กินเพื่อยกย่องเชิดชูตน ให้เหนือกว่าผู้อื่น - ด้วยความคิดของตนนั้น
... ย่อมเป็นการกินที่ถูกต้อง  ++

ฉะนั้น ให้ลูกทั้งหลาย.. จงเรียนรู้กับการกิน การอยู่ ที่พอดีพอประมาณ
ไม่กิน ด้วยการเบียดเบียน
ไม่กิน ด้วยการสร้างเวรสร้างกรรมให้กับใคร
ไม่กิน ด้วยการที่เรานี้ - กินไปเพียงเพื่อสนองความอยาก สนองความลุ่มหลง
การยกย่องเชิดชูตนให้ดูว่า มีเกียรติ  มีระดับขึ้นมา.. เช่นนั้น อย่างนั้น 

แต่กินไป เพียงเพื่อให้ดำรงธาตุขันธ์อยู่ 
ไม่กินหลายมื้อเกินไป จนเป็นความยุ่งยาก
-- กินให้เพียงพอกับร่างกาย ที่ได้ดำเนินธาตุขันธ์ไป - เพื่อการปฏิบัติเท่านั้น  ++

จงเรียนรู้ศึกษาการกินที่ถูกต้องเช่นนี้ ให้เข้าใจเถอะ
แล้วลูกทั้งหลาย ก็จะเป็นบุคคลผู้
กิน - ตามเหตุที่มีอยู่
กินไป - เพื่อดำเนินธาตุขันธ์

-- ไม่ได้กินเพราะกิเลสตัณหา  ไม่ได้กินอยู่บนการเบียดเบียนผู้อื่น --

พระยาธรรมเอย..  เมื่อลูกได้รู้เช่นนี้แล้ว  ลูกนั้นก็จงพิจารณาถึงประการต่อไป คือ
ประการที่ 3 -- ให้ลูกทั้งหลาย จงรู้ประโยชน์ของการกินด้วย

ประโยชน์ของการกินนั้น ก็คือ  เราก็ควรที่จะกินแต่พอดี พอประมาณ 
เพื่อธาตุขันธ์ ร่างกายของเรานี้ สามารถดำเนินไปได้อยู่
เพื่อร่างกายของเรานี้ - ไม่อ่อนเพลียจนเกินไป
ร่างกายสามารถแข็งแกร่ง แข็งแรง  เพียงพอที่จะทำการประพฤติปฏิบัติ

เรานี้.. ก็กินแต่เพียงพอดี ลูก

แต่เรานี้ก็ต้องรู้ว่า.. ประโยชน์ของการกิน - จำเป็นต้องกินด้วย  +
ไม่ใช่ไปอดอาหาร.. จนเบียดเบียนตนเอง ทรมานตน
ไม่ใช่หนทางแห่งการหลุดพ้น  ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. 

ฉะนั้น..  ให้ลูกทั้งหลาย
* กินไป- เพียงเพื่ออยู่
* อยู่ไป - เพียงเพื่อการบำเพ็ญ

ธาตุขันธ์นี้ ก็จำเป็นต้องรักษาให้ดำเนินไปๆ  เพื่อการประพฤติในชาตินี้ ในชีวิตนี้ -- เราก็ดำเนินไป
การกิน จึงมีประโยชน์ตรงที่ว่า..  ทำให้ร่างกายของเรานี้ สามารถดำรงธาตุขันธ์ - เพื่อการปฏิบัติ

เรากิน  เพื่อให้ประโยชน์ก่อเกิดขึ้นแก่ตัวของเรา  และแก่บุคคลผู้อื่น
แต่เราไม่ได้กิน เพื่อการเบียดเบียนตน  และเบียดเบียนผู้อื่น
หรือก็ไม่ทรมานตนจนเกินไป -- หาความเป็นกลางในการกินไม่ได้  +

กินอย่างผู้ที่เข้าใจถึงประโยชน์ของการกิน
แต่ก็ไม่อด จนไปทำลายให้ตนนั้น ทุกข์ทรมาน
จนมีแต่ความหิว
จนไม่เป็นอันภาวนา.. 
... ก็ไม่เป็นขนาดนั้น !!

ฉะนั้น ลูกทั้งหลาย.. จงรู้ว่า การกินที่ถูกต้อง ย่อมเกิดประโยชน์
ประโยชน์ คือ การทำให้ตนนั้นดำรงชีวิตไปได้  และปฏิบัติไปได้


อะไรที่ประกอบไปด้วย ความหลง ความอยาก -- สิ่งเหล่านั้น ย่อมเป็นเหตุแห่งทุกข์ *
แต่ร่างกาย ธาตุขันธ์นี้ -- ก็จำเป็นต้องดำเนินไป... 

เราจึงให้ดำเนินไป  กินไป อยู่ไป ตามเหตุตามปัจจัย แก่การสมควรอยู่ สมควรกิน 
ไม่ให้มันเกิดโทษ - ทั้งด้านที่เบียดเบียนตนเองเกินไป  / เบียดเบียนผู้อื่นเกินไป …

เรื่องของการทรมานตน -- ก็ไม่ใช่หนทางแห่งการหลุดพ้น *
ควรกินแต่พอดี พอประมาณ  และดำเนินธาตุขันธ์ไป 

การกินนั้นก็จะเกิดประโยชน์ เพราะได้ทำให้เราบำเพ็ญปฏิบัติไป เช่นนี้นะ

ต่อไป พระยาธรรมเอย.. ประการที่ 4

ประการที่ 4 -- นั้น
ลูกทั้งหลาย.. ควรที่จะรู้จักการกิน สักแต่ว่ากิน
ก็คือให้รู้ว่า..  สิ่งทั้งหลาย อาหารทั้งหลาย.. ก็เพียงสักแต่ว่า ธาตุ

เรากินไป - ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่
มีอะไร - เราก็กินไปตามเหตุตามปัจจัยนั้น

อะไรที่ต้องเบียดเบียน เข่นฆ่าผู้อื่น
ด้วยความจงใจ
ด้วยการได้ยิน ได้รู้ ได้เห็นแล้ว..  เราก็อย่าไปกินมัน

อะไรที่เรานี้ไม่มีเจตนา 
ผู้ที่มาถวายมาถวายไม่มีเจตนา
ไม่รู้ไม่เห็นในสิ่งที่กิน
สิ่งเหล่านั้น.. ก็สมมุติไป - สักแต่ว่าธาตุ

จงอย่าตึงเกินไป - จนทำให้ตนนั้น ไม่สามารถดำรงชีวิต
อยู่ในความพอดี
อยู่ในความเป็นกลางได้

ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. ฉะนั้น ให้ลูกทั้งหลาย.. ทำความเข้าใจถึงการกิน - สักแต่ว่าธาตุ
ไม่กินไป เพื่อสนองกิเลสตัณหา 
ไม่เพลิดเพลินไป ในการกิน
และไม่กิน - ในการเบียดเบียนผู้อื่น
และก็ไม่กิน - เพราะการเบียดเบียนตนเอง

ให้พิจารณาถึงการกิน เช่นนี้ว่า.. ทุกสิ่งเป็นสักแต่ว่า ธาตุ
ตัวเราก็ดี ตัวเขาก็ดี - สักแต่ว่าดำเนินกันไปเช่นนี้.. ตามประสาของสัตว์โลก

เราทำประโยชน์ในกายสัตว์โลก  สัตว์โลกกายนี้
-- ให้ได้ประโยชน์อันสูงสุด คือ การพ้นจากการเกิด 
เพื่อเผื่อแผ่อานิสงส์ของการสร้างความดี จากตัวของเรานี้.. แก่ดวงจิตอื่นด้วย *

จิตทั้งหลาย.. ย่อมถูกครอบงำ ด้วยกายทั้งหลาย
หลงยึด นึกว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนี้

ฉะนั้น..  เราก็จะดำเนินอยู่บนเส้นทางสายกลาง
กิน สักแต่ว่า
ทุกอย่างเป็นสักแต่ว่า ธาตุ

เราไม่รู้ไม่เห็นในการฆ่า  ไม่ได้จงใจฆ่ามาเพื่อเราโดยเฉพาะ

เราจงพิจารณาอาหารที่อยู่ตรงหน้า - สักแต่ว่าธาตุเถอะ
แล้วจงดำเนินไป  ดำรงธาตุขันธ์ไป เช่นนี้

สิ่งที่สำคัญคือ การตั้งใจประพฤติปฏิบัติ 
ฝึกฝนจิตของตนให้รู้ตื่น รู้แจ้งตามความเป็นจริง
เพื่ออานิสงส์อันสูงสุด.. จะได้เกิดแก่เรา

และจะได้เผื่อแผ่ให้กับจิตทั้งหลาย / จิตอื่นๆ / บุคคลทั้งหลาย..
ผู้ที่เขาทั้งหลายเหล่านั้น ..
-  เป็นผู้เสียสละธาตุขันธ์ก็ดี
-  เป็นผู้ที่ค้ำหนุนด้วยข้าวปลาอาหาร  ผู้อุปัฏฐากอุปถัมภ์ทั้งหลาย ก็ตาม

เขาทั้งหลายเหล่านั้น.. จะได้ประโยชน์ไปกับเราด้วย

ฉะนั้น.. จงยกจิตของตน
อยู่เหนือการเบียดเบียน
อยู่เหนือการเคร่งเกินไป.. จนทำให้ตนนั้น ไม่สามารถบำเพ็ญต่อไปได้

จงรู้จัก การกิน- สักแต่ว่าธาตุ ++

พระยาธรรมเอ๋ย.. เมื่อลูกทั้งหลายได้พิจารณาเช่นนี้แล้ว ลูก..
//  จะไม่กินไปด้วยความเพลิดเพลิน
//  จะไม่กินด้วยการเบียดเบียนตน  และการเบียดเบียนผู้อื่น
//  จะสักแต่ว่า.. ดำเนินไปๆ ตามเหตุตามปัจจัย

เมื่อลูกรู้ และเข้าใจวิธีการกินที่ถูกต้อง
เมื่อลูกรู้ และเข้าใจถึงประโยชน์ของการกิน - สักแต่ว่าธาตุ ไม่เบียดเบียนตน

ลูกทั้งหลาย.. ก็จะสามารถอยู่เหนือการกิน - ที่เป็นการเบียดเบียน ที่จะเป็นโทษได้
ลูกจะดำเนินไป ตามเหตุตามปัจจัย 
ไม่ลุ่มหลง สร้างเวรสร้างกรรม - เพียงเพื่อเรื่องกิน เรื่องอยู่

ลูกจะเป็นบุคคล ผู้สามารถดับการเกิด แห่งเหตุของการกิน ได้ลูก
เพราะลูกกินเพียง - สักแต่ว่าธาตุ
กิน - อยู่ในกรอบของการไม่เบียดเบียนตน และผู้อื่น
กิน - โดยไม่ได้ประกอบไปด้วย..
กิเลส คือ ความหลงในการกิน
ตัณหา คือ ความอยากในการกิน

ไม่ได้ประกอบไปด้วยการ กินด้วยกาม / กินด้วยเกียรติ
กินด้วยยกย่องเกียรติ - อันเป็นเรื่องของกิเลสทั้งหลาย..

ลูกทั้งหลาย.. จึงดำรงชีวิตอยู่ - อยู่ง่าย กินง่าย
ดำเนินไป เพียงเพื่อการประพฤติปฏิบัติธรรม เท่านั้น ++

จึงถือว่าเป็นบุคคล ผู้สามารถดับหัวใจห้องที่ 3 - เหตุของการเกิด คือ เรื่องกิน

ลูกนั้น จึงเป็นผู้ไม่แสวงหา เรื่องกิน
ลูกนั้น จึงเป็นเพียงผู้ดำเนินไป - สักแต่ว่า.. แล้ว

เช่นนี้ละ พระยาธรรม..
พอจะเข้าใจแล้วหรือยังเล่า จงกล่าวธรรมนั้นมาเถอะ พระยาธรรมเอย.. 

พระยาธรรม ::  สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์  ที่ทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง นะเจ้าคะ

ลูกพอจะเข้าใจแล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ ว่า.. 
การดับหัวใจห้องที่ 3 คือ การถอดถอนการกิน อย่างผู้ลุ่มหลง
กินอย่างผู้ยกย่องเชิดชูกิเลส ความหลงในเกียรติ ในยศต่างๆ

ลูกพอจะเข้าใจว่า.. ให้เรากินเพียงสักแต่ว่าธาตุ
รู้ประโยชน์ของการกิน -
กิน อยู่ไป -- เพื่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดด้วยการบำเพ็ญ.. แล้วพระพุทธเจ้าค่ะ

ลูกจะน้อมไปพิจารณาตาม และเผยแผ่  นะเจ้าคะ
วันนี้ ลูกต้องกราบขอลาก่อน  เอาไว้ลูกจะมาเฝ้าฟังธรรมใหม่  พระพุทธเจ้าค่ะ...

สาธุ










 



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version