ธรรมะกึ่งพุทธกาล > คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล
Rec-3549 ดับความหลง
(1/1)
thanapanyo:
คัมภีร์ธรรมกึ่งพุทธกาล วันที่ 5 เมษายน 2564
ตอนที่ 132 **ดับความหลง**
+ +
ในเย็นของวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ สวนธรรมิกราช
เมื่อท่านพระยาธรรมิกราช ได้กราบนอบน้อมเข้าเฝ้าต่อพระพุทธองค์ท่าน เพื่อเฝ้าฟังธรรมแล้ว จึงได้นอบน้อมเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ท่านไป ดังนี้ว่า...
“ ข้าแต่องค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าขา..
วันนี้ ลูกปรารถนาจะขอเฝ้าทูลถามถึง ข้อธรรม บทที่ 131 น่ะเจ้าค่ะ
เมื่อหัวใจของการเกิดนั้น..
คือ กิเลสตัณหา ความหลง ความอยาก
คือ เรื่องกิน เรื่องกาม และเรื่องเกียรติ
ลูกก็พอจะเข้าใจว่า ทั้ง 4 อย่างนี้ คือหัวใจแห่งการเกิด
ทีนี้ ลูกก็เลยปรารถนาจะขอถึงพระพุทธองค์ โปรดทรงเมตตาเป็นที่พึ่งแก่ลูกทั้งหลาย
ทรงเมตตาอธิบายถึงเรื่องของการละกิเลสตัณหา ว่า.. เราควรที่จะฝึกฝนตนเช่นไร ?
เพื่อที่จะได้ดับกิเลสตัณหาในตนลง แล้วก็จะได้ดับหัวใจแห่งการเกิดได้ ในประการที่ 1 น่ะเจ้าค่ะ
- - - -
ดีแล้วละ พระยาธรรมเอย.. ถ้าอย่างนั้น ลูกก็จงตั้งใจให้ดีนะ
ทำจิตใจให้สงบ สบายก่อน แล้วค่อยๆพิจารณาธรรม อย่างสบายๆ
เป็นยังไงบ้างเล่า พระยาธรรมเอย.. กับการที่ลูกนั้น ลองเรียนรู้คลุกเข้ากับกิเลสตัณหา
เป็นทุกข์มากหรือเปล่า ?
และลูกนั้น ได้สัมผัสกับกิเลสตัณหา ด้วยใจของตน ด้วยจิตของตนอย่างแท้จริง
... ลูกรู้สึกว่าเป็นอย่างไรบ้าง ?
เพราะว่า การที่เราจะเอาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง -- เราก็จะต้องรู้ว่า เรื่องนั้นคืออะไร
ทำความแจ้งให้เกิดขึ้นในเรื่องนั้น.. เพื่อที่จะให้เรื่องนั้นกระจ่างแจ้ง
การที่เรานี้..
จะถอดถอนกิเลส - เราก็ควรที่จะรู้จักกิเลส
จะถอดถอนตัณหา - ก็ควรที่จะรู้จักตัณหา
ฉะนั้น.. ลูกก็จงลองกล่าวดูว่า..
ลูกนั้นได้รู้จักกิเลสตัณหาแบบไหน และรู้จักมากเพียงใด ?
คลุกเข้าแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
จงกล่าวสิ่งนั้นมาเถอะ.. พระยาธรรม
+ +
พระยาธรรม :: กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์ที่ทรงเมตตาลูก พระพุทธเจ้าค่ะ
พระพุทธองค์เจ้าขา.. การคลุกเข้ากับกิเลสตัณหานั้น มันช่างเป็นเรื่องที่เร่าร้อน เป็นทุกข์มาก
แล้วก็ครอบงำจิตใจของเรา ทำให้เรารุ่มร้อนเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าค่ะ
เพราะกิเลส ก็คือ ความหลง
เราหลงไปในสิ่งนั้น เรื่องนั้น
หลงในตัวในตน ในสิ่งของทั้งหลาย ในสมมุติทั้งหลาย
เราหลงไปในสิ่งเหล่านั้นแล้ว.. เราก็เกิดเชื้อความรัก เกิดเชื้อความโลภ เชื้อความโกรธ ตามมาอีก
ถึงแม้ว่าจะเป็นการเข้าไปคลุก - แบบที่ว่าจมอยู่ตลอด
หรือคลุกเข้าเพียงแค่ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น.. ก็ทุกข์มากเหลือเกิน พระพุทธเจ้าค่ะ
เป็นความทุกข์ ความเร่าร้อนมากเลย เจ้าค่ะ
ส่วนตัณหานั้น ลูกเข้าใจว่า.. เป็นความอยาก
อยาก - แล้วก็ดิ้นรนเพื่อที่จะได้มา
บางทีก็ไม่อยาก - แล้วก็เป็นทุกข์
เช่น อยากกินสิ่งนั้น อยากได้สิ่งนี้
อยากเป็นอย่างนั้น อยากเป็นอย่างนี้ -- ก็เป็นทุกข์ *
แม้อยากไปในสิ่งที่ดี - ก็ยังทุกข์เลย พระพุทธเจ้าค่ะ
หากเราใช้ความอยากเป็นที่ตั้ง
หากว่าเรานี้ สักแต่ว่าทำไป -- ก็ไม่ค่อยทุกข์ ++
เมื่อไหร่ที่ลูกรู้สึกว่า จิตของลูก.. หลุดลอย
/ อยู่เหนือการครอบงำทั้งปวง
/ อยู่เหนืออำนาจกิเลส คือ ความหลง ความรัก ความโลภ ความโกรธ
/ อยู่เหนืออำนาจแห่งตัณหา คือ ความอยาก และความไม่อยาก เหล่านั้น..
ลูกรู้สึกว่า จิตสบายมาก
รู้สึกว่า ช่างมีความสุขมากเหลือเกิน
แต่เมื่อไหร่ ที่ลองคลุกเข้ากับสิ่งเหล่านี้ -- มันเร่าร้อนรุ่มร้อน
แล้วก็เป็นทุกข์มาก พระพุทธเจ้าค่ะ
จิตใจอยู่ไม่เป็นสุข ไม่มีความสุขเลย พระพุทธเจ้าค่ะ
บางครั้ง ถ้าเราไม่อยาก - เราก็เป็นทุกข์อีก
ไม่อยากเผยแผ่ธรรม
ไม่อยากที่จะเป็นผู้สื่อธรรมลงมา
ไม่อยากประกาศธรรม เป็นองค์แทนของพระธรรมในกึ่งพุทธกาล
ไม่อยากฉุดช่วยผู้คน - ก็เป็นทุกข์
ไม่อยากป่วย ไม่อยากเจ็บ
ไม่อยากพลัดพรากจากสิ่งของอันเป็นที่รักที่พอใจ
-- ล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าค่ะ…
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เรา สักแต่ว่าดำเนินไป
อยากก็ทำไป ไม่อยากก็ทำไป
ไม่ต้องไปสนใจ อยากหรือไม่อยาก
เรามีหน้าที่อะไร.. เราก็แค่ทำๆไป เท่าที่เราพอจะทำได้
-- มันก็คลายความทุกข์ลง พระพุทธเจ้าค่ะ..
- - -
พระพุทธองค์ :: ก็ดีแล้วละ พระยาธรรมเอย.. ถ้าอย่างนั้น ลูกก็ลองพิจารณาตามนี้ดูนะ
ถ้าหากว่าลูกทั้งหลาย.. ต้องการที่จะดับกิเลสตัณหา
ประการแรก เลย -- ก็คือ ลูกจะต้องรู้จักกิเลสตัณหา
รู้ว่ามันคืออะไร
และมันมีโทษอะไรบ้าง
มันทำให้เรานี้ - เกิดความทุกข์ยากลำบากอะไรบ้าง
จริงๆแล้ว.. มันมีอยู่ในตัวของเราหรือเปล่า
มันคือตัวคือตน ที่แท้จริงของเราหรือเปล่า
-- ลูกจะต้องทราบถึงสิ่งเหล่านี้.. พระยาธรรมเอย
ซึ่งกิเลสนั้น ก็คือ ความหลง
ความหลง เป็นหัวหน้าใหญ่ของกิเลส
เมื่อเกิดความหลงแล้ว หลงนึกยึดในตัวในตนของเรา
ก็เลยยึดเอาตัวตนของผู้อื่น.. เพื่อประกอบเข้ามาหาเรา
เพื่อให้เป็นคนที่เรารัก ให้เป็นคนที่รักเรา
อยากได้สิ่งของข้าวของต่างๆมา.. เพื่อที่จะได้มาประกอบเข้ากับตัวของเรา
ว่าเป็นเรา เป็นของเรา - ก็เลยเกิดความรัก เกิดความโลภ
เมื่อไม่ได้ดั่งใจ - ก็เกิดความโกรธขึ้นมา...
-- สิ่งเหล่านี้ คือกิเลส **
ส่วนตัณหานั้น - ก็เป็นสิ่งที่เกิดต่อจากกิเลสอีกทีหนึ่ง
เมื่อเกิดความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธแล้ว -- จึงเกิดความอยาก / ความไม่อยาก เกิดขึ้นมา
มีแล้ว - ก็อยากให้มันมีอยู่ ไม่อยากให้ดับไป
บางสิ่งที่ไม่ดี เกิดขึ้นแก่เราแล้ว -- เราก็อยากจะให้มันดับไป ไม่อยากให้มีอยู่.. เช่นนี้ เป็นต้น
ฉะนั้น ลูกทั้งหลายเอ๋ย..
กิเลส คือ ความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธ
ตัณหา คือ ความอยาก และความไม่อยากทั้งหลาย
สิ่งเหล่านี้ ร้อนรุ่มดังไฟแผดเผา -- ทำให้จิตใจของผู้คนเร่าร้อน
กิเลส เป็นเรื่องที่ทำให้เร่าร้อน เป็นทุกข์.. ลูกเอ๋ย
จิตที่ถูกกิเลสครอบงำแล้วนั้น.. จึงเร่าร้อน ดิ้นรนขวนขวาย
จมอยู่กับทะเลทุกข์นี้
รุ่มร้อนไป ทุกข์ไป.. ไม่มีวันสิ้นสุด + +
พระยาธรรมเอย.. โทษของกิเลส ก็คือ
ทำให้เรารุ่มร้อน เร่าร้อน
ทำให้เราสร้างเวรสร้างกรรม เวียนว่ายตายเกิด หลงอยู่ จมอยู่ในวัฏสงสารนี้
... นั่นคือ โทษแห่งกิเลสตัณหา **
ฉะนั้น เมื่อลูกรู้จักแล้ว..
ลูกก็จงตั้งใจที่จะฝึกฝนตน ให้อยู่ในกรอบของคุณงามความดี
-- เพื่อจะถอดถอนอำนาจกิเลสตัณหา ออกจากตัวของเรา นั่นละลูก
แล้วลูกก็จะได้ตีถูกตัว ก็คือ รู้จักกิเลส รู้จักตัณหาแล้ว...
จึงสามารถที่จะขจัดถูกตัวของมัน แก้ไขตรงจุด จะได้ขจัดถูกจุด
-- แล้วมันก็จะได้ดับไป - หากลูกต้องการที่จะละกิเลสตัณหา ++
ประการที่ 1 - จึงเป็นการทำความรู้จักกับกิเลสตัณหา และโทษของมันก่อน ลูก
ต่อไป ประการที่ 2 --
เมื่อลูกได้รู้จักกับกิเลสตัณหาแล้ว.. ลูกก็จงฝึกฝนตน ให้รู้จักสิ่งที่จะทำให้กิเลสตัณหาดับไป คือ
ฝึกรู้จักรักษาศีล ให้รู้จักการรักษาศีล และฝึกอยู่ในกรอบของศีล ลูก
เพราะศีลจะเป็นสิ่งที่ป้องกัน ช่วยให้เรานี้
- ไม่ทำบาปเพิ่ม
- ป้องกันไม่ให้อำนาจกิเลสตัณหา ขยายใหญ่ขึ้นในตัวของเรา
- และยังคงช่วยให้เรานั้น - อยู่ในกรอบของความดี
และควรที่จะเรียนรู้ในเรื่องของสมาธิ หรือรู้แจ้งในเรื่องของสมาธิ ลูก
เมื่อมีศีลแล้ว.. ไม่สร้างกรรมเพิ่มขึ้น
มีชีวิตอยู่ในกรอบของศีล
จิตใจเกิดความสงบสุข ฝึกสมาธิให้เกิดขึ้น
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว -- จิตนั้น ก็จะมีสติ มีปัญญาขึ้นมา
เกิดสติ เกิดปัญญา รู้เท่ารู้ทัน
รู้ตามสิ่งที่เกิดขึ้น กระทบทดสอบต่างๆ
แล้วก็เข้าใจในหลักธรรมคำสอนต่างๆ ทั้งหลาย..
เมื่อลูกนี้ ได้เข้าใจตามหลักธรรมคำสอนทั้งหลายแล้ว.. ลูกก็จะเป็นผู้รู้ตื่น เบิกบาน
รู้ตื่น เบิกบานแล้ว -- ก็จะสามารถดับกิเลสได้ ลูก ++
ฉะนั้น ประการที่ 2 -- สิ่งที่ลูกจะทำได้ หรือควรที่จะฝึกฝน เพื่อละกิเลสตัณหาได้ ก็คือ
ฝึกศีล ฝึกธรรม ฝึกสมาธิ ฝึกปัญญา
หรือฝึกฝน ที่จะมีศีล ธรรม สมาธิ ฝึกฝนสติปัญญา
ฝึกฝนที่จะเรียนรู้ เข้าใจในธรรมทั้งหลาย.. ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ **
จงทำเช่นนี้เถิด ลูก
แล้วการละกิเลสของลูก - ก็จะสามารถทำได้สำเร็จ ++
ต่อไป ประการที่ 3 --
เมื่อลูกมีศีล ธรรม สมาธิ ปัญญา แล้ว.. ลูกก็จะเกิดสติ อันเป็นมหาสติขึ้น
ทำให้จิตของลูก
รู้ตื่น รู้เท่ารู้ทัน
รู้ตามอารมณ์ สิ่งกระทบต่างๆทั้งหลาย
รู้ว่า นี่คือโลภ คือโกรธ คือหลง
รู้ว่า นี่คือความอยาก คือความไม่อยาก
รู้ว่า อารมณ์ และสภาวธรรมเหล่านี้นั้น.. มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
จิตที่สงบ ตั้งมั่น มีสติรู้ตื่น..
- จะเห็นอารมณ์ การเคลื่อนไหวที่มีอยู่ในตัวของเราอย่างรู้แจ้ง
- จะรู้เท่ารู้ทันอารมณ์ต่างๆ --
โกรธ - ก็รู้
โลภ - ก็รู้
หลง - ก็รู้
รัก - ก็รู้
อยาก ไม่อยาก - ก็รู้
-- รู้เท่าทันอารมณ์ และก็สามารถที่จะหยุดอารมณ์เหล่านั้นได้ด้วย *
ลูกจึงสามารถที่จะอยู่เหนือ การครอบงำของกิเลสตัณหา
ซึ่งจะทำให้เกิดความหลง ความโลภ ความโกรธ ความอยาก ความไม่อยากทั้งหลาย
อารมณ์สภาวะเหล่านี้ - ลูกรู้เท่าทันแล้ว..
ลูกจึงสามารถ
ฝึกที่จะไม่ทำตามเขา
ฝึกที่จะรู้เขา อยู่เหนือเขา
-- ลูกนั้น จึงเป็นผู้มีชัยชนะต่อความหลง ความอยากทั้งหลาย + +
... เช่นนี้ละ พระยาธรรมเอย
ฉะนั้น.. จง
ฝึกสติ รู้เท่าทันอารมณ์
ฝึกความนิ่งเฉย
ฝึกจิตของตน ให้อยู่เหนืออารมณ์ทั้งปวงเถิด...
ต่อไป ประการที่ 4 --
ให้ลูกนี้ ฝึกแยกจิต ออกจากอารมณ์ต่างๆ ออกจากตัวจากตน จากสภาวะของกายหยาบนี้
ฝึกดูจิต ให้รู้ว่าจิตของเราอยู่ไหน
ฝึกจิต ให้สว่าง
ฝึกจิต ให้รู้เท่าทันอารมณ์
ฝึกจิต ให้แบ่งแยกอารมณ์ของสภาวะภายนอก คือ เรื่องอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง
.. ความอยาก ความยึดทั้งหลาย ความรุ่มร้อนเร่าร้อนทั้งหลาย
-- ฝึกตัดออกจากจิตไป…
แล้วจิตของลูก จะสว่างไสว
เหลือเพียงอารมณ์แห่งความว่าง ความเบา ความสบาย
ความรู้ตื่น รู้แจ้ง
ความเป็นอิสระ
หลุดลอยอยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง
... เช่นนี้ละ พระยาธรรม
ฉะนั้น การที่ลูกทั้งหลาย.. จะดับเหตุที่ 1 คือ เหตุแห่งการเกิด หรือหัวใจแห่งการเกิด
การมีชีวิตอยู่ในวัฏสงสารนี้...
-- ลูกก็จงดับด้วยการ
พิจารณาให้รู้จักกิเลสตัณหา
ให้รู้จักการทำสมาธิ ฝึกฝนปัญญา
รู้เท่ารู้ทัน รู้ตามธรรมทั้งหลาย
ฝึกจิตของตนให้มีสติ รู้เท่าทันอารมณ์
แล้วก็ฝึกแยกจิต - แยกกาย ออกจากกัน
แยกสภาวธรรมภายใน - ภายนอก ออกจากกัน
ฝึกจิตของลูกให้ตั้งมั่น เช่นนี้..
ลูกก็จะเป็นบุคคล ผู้สามารถที่จะดับความหลง ความอยากในตัวของลูกได้
-- เหตุหลักแห่งการเกิด ย่อมดับไป --
ลูกก็จะไม่มีชีวิตอยู่ในวัฏสงสารนี้อีกต่อไป..
-- เพราะหัวใจแห่งการเกิด ได้ดับลงแล้ว **
เช่นนี้ละ.. พระยาธรรม
ถ้าหากว่า ลูกทั้งหลาย ปรารถนาที่จะดับการเกิด - ก็ทำเพียงเท่านี้ละลูก
รู้จักตัวของมัน - เพื่อที่จะจับถูกตัวมัน
รู้แล้วว่า อะไรคือสิ่งที่จะทำให้เขาดับลงไปได้ คือ..
ฝึกสติ ฝึกสมาธิ ฝึกศีล ฝึกธรรม ฝึกปัญญา
ฝึกฝนตนอยู่ในกรอบของมรรค 8 - ที่องค์พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอนเอาไว้
แล้วก็ฝึกสติ มหาสติ
ฝึกให้รู้เท่ารู้ทัน รู้ตามอารมณ์
ฝึกแยกจิต แยกกาย
ฝึกแยกสภาวะภายนอก และสภาวะภายในออกจากกัน
... แล้วลูกก็จะเห็นคุณค่า ของจิตภายในที่สว่างไสว
** ลูกจะลบสัญญาแห่งสมมุติทั้งปวง ทิ้งไปได้หมด - โดยที่จะไม่ทุกข์กับมันอีกต่อไป ++
เช่นนี้ละ พระยาธรรมเอย..
ลูกพอจะเข้าใจบ้างแล้วหรือยังเล่า จงกล่าวธรรมเหล่านั้นมาเถอะ พระยาธรรม
+ +
พระยาธรรม :: สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์ ที่ทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง
ลูกพอจะเข้าใจแล้วว่า.. ถ้าหากว่าเรา ปรารถนาจะดับความหลง ความอยาก
เราก็จะต้องรู้ก่อนว่า.. ความหลง ความอยากนั้นมันคืออะไร
และเราก็จะต้องรู้ว่า อะไรคือสิ่งที่จะทำให้ความหลง ความอยาก - ดับไป
ซึ่งนั่นก็คือ ศีล ธรรม สมาธิ ปัญญา หรือมรรค 8 ที่พระพุทธองค์ทรงสอนเอาไว้
แล้วเราก็ฝึกให้ตัวของเรา มีมหาสติ มหาปัญญา -- เพื่อจะ..
รู้เท่าทันอารมณ์ สิ่งทดสอบต่างๆ
รู้เท่าทัน และสามารถฝึกตนให้อยู่เหนือ
แล้วเราก็ควรที่จะฝึกแยกจิต แยกกาย
แยกสภาวะอารมณ์ภายในจิต // สภาวะอารมณ์ และสิ่งกระทบภายนอก
สภาวะภายใน และภายนอก ออกจากกัน
-- เราก็จะสามารถถึงนิพพานได้
-- เราจะสามารถดับการเกิดได้
หัวใจแห่งการเกิดไม่มี -- ชีวิตในวัฏสงสาร.. ย่อมไม่มีอีกในตัวเรา
จิตของเราจะรู้ตื่น หลุดพ้นสู่แดนพระนิพพาน พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณพระพุทธองค์ ที่ทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ให้ลูกได้ฟัง นะเจ้าคะ
วันนี้ ลูกต้องกราบขอลาก่อน เอาไว้ลูกจะมาเฝ้าฟังธรรมใหม่ พระพุทธเจ้าค่ะ...
สาธุ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
Go to full version